ฤๅสับปะรดเป็นหัวอยู่ใต้ดิน

ทำไมคนไทยจึงเรียก สับปะรด มีหลายความเห็น แต่ล้วนขาดหลักฐานยืนยัน ยากสรุป จากบันทึกของลา ลูแบร์ คำนี้มีมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์แล้ว ในเอกสารเก่า ๆ บางทีก็เขียน สัปรด ขณะที่ภาษาถิ่นตามภาคต่าง ๆ เรียกชื่อผลไม้ชนิดนี้ตามเสียง อะนานาส ว่า ยานัด หมากนัด บ่าขะนัด คล้าย ๆ กัน

ทองกวาว/จาน ในมิติทางการแพทย์

ในฤดูฝนและฤดูหนาว ทองกวาวมีใบเขียว ดูกลมกลืนไปกับไม้อื่น ๆ รอบข้าง แต่ในตอนปลายฤดูหนาวต่อต้นฤดูแล้งเมื่อใบไม้ร่วง เป็นช่วงเวลาที่ทองกวาวมีสีสันสวยงามที่สุด โดดเด่นกว่าไม้ต้นอื่น ๆ ข้างเคียง ด้วยดอกสีส้มแดงอย่างที่เรียกว่า สีส้มอินเดีย (Indian orange) เต็มล้นกิ่งที่ปราศจากใบ การเป็นไม้ท้องถิ่นที่มีคนรู้จักดีเช่นนี้ น่าจะหมายถึงการมีคนรู้จักนำเอาส่วนต่าง ๆ มาใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลายด้วย

คําผญา (๒)

คนเราเป็นอย่างนี้เมื่อเห็นคนอื่นมีอํานาจวาสนา มั่งมีศรีสุข มีโชคมีลาภ เรามักยินดีด้วย ความรู้สึกยินดีกับผู้อื่นนั้นเป็นสิ่งดี ถ้าเป็นความยินดีที่บริสุทธิ์ไม่เกิดความรู้สึกน้อยอกน้อยใจในความแตกต่างระหว่างตนกับผู้อื่น ไม่ได้แฝงด้วยความรู้สึกอิจฉาริษยา แล้วคิดแย่งแข่งขัน อยากเอาชนะ อยากทัดเทียม

๓๖๕ น้ำพริก – ๒. น้ำพริกเบสิก (น้ำพริกมาตรฐาน)

จิ้มกับผักดิบแนมด้วยปลาทูทอด หรือปลาดุกย่างก็ได้ แต่น้ำพริกครกนี้ปลาอะไรก็คงไม่ดีเท่าปลาทูทอด ม.ร.ว.คึกฤทธ์ ฯ ท่านแนะว่าถ้าอยากให้น้ำพริกถ้วยนี้น่าสนใจ หรือตื่นเต้น หรือโรแมนติกขึ้นไปอีก ก็ต้องเอาเมล็ดมะเขือใส่ คือหามะเขือขื่นหรือที่เรียกว่ามะเขือเหนียว

คำผญา (๓)

ตกหมู่แฮ้งเป็นแฮ้ง ตกหมู่กาเป็นกา เมื่อเราคบใครเราก็เป็นอย่างนั้น เมื่อเข้าไปอยู่ในกลุ่มของอีแร้ง เราย่อมเป็นอีแร้งด้วย

คำฉันท์ (2) จากอินโด-อารยัน สู่สยามพากย์

เคยมีค่านิยมที่ผิดข้อหนึ่งว่า คำฉันท์ เป็นกวีนิพนธ์ที่สูงค่ากว่าบทกวีฉันทลักษณ์ประเภทอื่นค่าของกวีนิพนธ์เขามิได้วัดจากรูปแบบฉันทลักษณ์ ไม่ว่ารูปแบบฉันทลักษณ์แบบใด กระทั่งร้อยแก้วกวีนิพนธ์ – Poetic Prose ถ้าเขียนได้ถึง จริง ก็คือกวีนิพนธ์ที่ทรงคุณค่า

จากใบชาถึงใบเมี่ยง

ถ้าไม่นับน้ำเปล่า ชาก็คงเป็นเครื่องดื่มยอดนิยมที่เก่าแก่ที่สุดของมนุษยชาติ เมื่อเอ่ยถึงชา เรามักเชื่อมโยงไปถึง จีน ญี่ปุ่น อังกฤษ อินเดีย และซีลอน แน่ละ ไม่มีไทย แต่เชื่อหรือไม่ ในความเผ็ดร้อน อ่อนละมุน ของวิถีชีวิตคนไทยนั้น มีรสชาติฝาดหวานของใบชาปะปนอยู่ด้วย อาจเป็นร้อยหรือพันปีมาแล้ว

๓๖๕ น้ำพริกกับสวนรอบบ้าน – ๘. น้ำพริก ผกค. สูตร ๓ น้ำพริกส้มห้วยกับต้มหวายใส่ปู

ครั้งหนึ่งพักกินข้าวเที่ยงข้างห้วย เพราะแลเห็นกอหวาย มีกิ่งอ่อน ๆ เยอะ จึงก่อไฟต้มแกงกันสักหน่อย คนนึงไปตัดหวายมาปอก คนนึงไปหลก (ถอน ดึง) ตะไตร้น้ำ กับ ส้มห้วย อีกหลายคนพากันพลิกก้อนหินในห้วยเพื่อหาปูภูเขา

กาพย์ไขผญา: เงิน-ทอง

๏ ใจหนอใจมนุษย์ จะสูงสุดเมื่อมีธรรม พื้นเดิมอาจมืดดำ โดยสันดานอันดิบดาย ธรรมดาก็ดูดี ไม่เห็นมีที่อันตราย มีญาติมีมิตรสหาย เกิดเจ็บตายเสมอกัน ถึงคราวร่วมทุนค้า หากำไรมาแบ่งปัน...อ่านต่อ

คำผญา (๗)

เอาลูกสะใภ้มาเลี้ยงย่า เหมือนเอาผีห่ามาไว้ในเรือน ความหมาย แม่ย่าหรือแม่ผัวกับลูกสะใภ้เปรียบเสมือน ขมิ้นกับปูน, เสมือนนํ้ากับนํ้ามัน ส่วนมากเข้ากันไม่ได้ ยังดีที่เป็นน้ำ อย่าง้นอยก็ยังมีความเย็นอยู่บ้าง ถ้าเป็นของร้อน แม่ย่ากับลูกสะใภ้อาจจะเปรียบเหมือนหมากับแมวก็ได้

“ปลาแดก” นั้นฉันใด

ปลา คือเป็นกับข้าวหลัก หรือเป็นอาหารหลักของคนอีสานมาแต่โบราณกาล ดังจะเห็นได้จาก ปู่ ย่า ตา ทวด สอนลูกสอนหลานว่า ให้กินอาหารหลักเป็นประจำ คือ “กินข้าวเป็นหลัก กินผักเป็นยา กินปลาเป็นแนวกิน” หมายถึง ให้กินข้าวเป็นหลัก ให้กินผักเป็นยา และให้กินปลาเป็นกับข้าว นี้ย่อมแสดงให้เห็นว่า ปลา มีความสำคัญต่อการบริโภคอาหารของคนอีสาน

ปฏิญาณสหาย : รำลึกวีรชนอีสานใต้

ที่ที่มีเพื่อนมีญาติมิตร มีเลือดเนื้อชีวิตยิ่งใหญ่ เก็บฝังอดีตไว้ในดวงใจ หว่านฝันเราไปให้ผลิบาน... อนุสรณ์สถานฯทั่วไทถิ่น เทิดชีวินลูกไทยใจห้าวหาญ เสริมความรักพร้อมพรักอุดมการณ์ ปฏิญาณแห่งสหายอุทิศพลี เสียสละสูงสุดเพื่อชาติ องอาจไม่กลัวตายไม่ถอยหนี ซื่อสัตย์พิทักษ์ประชาชี สังคมใหม่บังเกิดมีปรีด์เปรม... ที่ที่มีเพื่อนมีญาติมิตร มีเลือดเนื้อชีวิตยิ่งใหญ่ เก็บฝังอดีตไว้ในดวงใจ หว่านฝันเราไปให้งอกงาม

สกู๊ป งาน ~ “สู่ขวัญสุวรรณภูมิ” เสวนาวิชาการ เล่าขานเรื่องราวสุวรรณภูมิ

สกู๊ป งาน ~ “สู่ขวัญสุวรรณภูมิ” เสวนาวิชาการ เล่าขานเรื่องราวสุวรรณภูมิ เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 30 พฤศจิกายน 2566 ณ ห้อง Auditorium ชั้น 2 มหาวิทยาลัยรังสิต

คำฉันท์ วรรณลีลามรดกชาติ (46) สมุทโฆษคำฉันท์ (34)

นับเป็นเรื่องอัศจรรย์ ที่คำฉันท์เรื่องนี้ปรากฏต้นฉบับตัวเขียนเพียงฉบับเดียวเท่านั้นที่พบในปัจจุบันนี้ เป็นสมุดไทยดำ เขียนด้วยเส้นหรดาล ขนาดกว้าง ๑๑.๒ เซนติเมตร ยาว ๓๔.๕ เซนติเมตร เขียนอักษรสองด้าน รวม ๑๐๔ หน้า ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่ส่วนภาษาโบราณ หอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี

ดอกมะเดื่อเป็นของหายาก…จริงหรือ?

คนในเมืองรู้เพียงว่า มะเดื่อเป็นชื่อต้นไม้ บ้างรู้ดีขึ้นไปอีกว่า ลูกมะเดื่อมักมีแมลงหวี่อยู่ข้างใน บ้างก็ว่าผลมะเดื่อฝรั่งนั้นอร่อยนัก คนชนบทเสริมว่า ใบและผลอ่อนของมะเดื่อกินได้ อีกคนบอกในป่ามีมะเดื่อลูกโต ผลสุกสีแดงหวานอร่อย

๓๖๕ น้ำพริก – ๑๗. น้ำพริกเต้าหู้พริกไทยอ่อน

พริกไทยเป็นอาหารที่เหมาะอย่างมากสำหรับคนธาตุเจ้าเรือนเป็นธาตุลม (พฤษภาคม-กรกฎาคม) ซึ่งจะช่วยป้องกันการเจ็บป่วยต่าง ๆได้ พริกไทยอ่อนช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ได้ดี นอกจากนั้นยังนิยมนำมาทำน้ำพริกพริกไทยอ่อน นิยมใช้พริกไทยอ่อนเป็นส่วนประกอบใน ผัดเผ็ด ผัดฉ่า แกงป่า น้ำพริกพริกไทอ่อน

กลอนบทละคร (๕ – ๖)

กลอนบรรยายพระราชวังกรุงกุเรปัน ในบทละครอิเหนาครั้งกรุงเก่าข้างต้นนี้ ภาพที่บรรยายแท้จริงแล้วก็คือพระราชวังสมัยกรุงศรีอยุธยานั่นเอง เนื้อความตอนนี้จึงมีความหมายสำคัญทางประวัติศาสตร์ด้วยครับ การอ่านวรรณคดีนั้น เราจะได้ทั้งความไพเราะชื่นใจของภาษา และความรู้ทางประวัติศาสตร์ สังคมวิทยาด้วย

ทางอีศาน 66 : ทำดีถวายไท้

รัตนะ โกสินทร์ ถิ่นไทยรัก ซึ้งตระหนัก กษัตริย์ไทย ใจรักมั่น สามัคคี รวมแก่น แน่นรักกัน เทิดมิ่งขวัญ จักรี ศักดิ์ศรีไทย ‘พระภูมิพล’ เสด็จไหน ‘ใจไทย’อยู่ น้อมเชิดชู คำสอนสั่ง ตั้งใจใส่ จะกี่ภพ กี่ชาติ ตลอดไป จักทำดี ถวายไท้ เทอดนิรันดร์
1 2 3 6
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com