ไก่นึ่งผักชีลาว

สำหรับเมนูนี้ นั่นก็คือเมนู "ไก่นึ่งผักชีลาว" เป็นเมนูอาหารประเภทนึ่งที่พิมทำทานบ่อยพอประมาณค่ะ แต่ว่าก็จะเปลี่ยนผักสมุนไพรไปเรื่อยๆ ตามชอบ บางทีมีโหระพาก็ใช้โหระพา บางทีมีใบแมงลักก็ใช้ใบแมงลัก บางทีมีแต่ตะไคร้อย่างเดียวก็ใช้ตะไคร้ บางทีไม่มีใบอะไรเลยก็เดินเข้าไปในสวน แล้วเด็ดกระเพรามาสัก 3-4 กิ่ง ทำเป็นไก่นึ่งใบกระเพรา

คำฉันท์ วรรณลีลามรดกชาติ (45) สมุทโฆษคำฉันท์ (33)

ตำนานเรื่องพราหมณ์ที่สำคัญเรื่องหนึ่งคือ ตำนานพราหมณ์นครศรีธรรมราช เล่าว่า ในสมัยพระเจ้าอู่ทอง กษัตริย์เมืองรามนครในอินเดียส่งเทวรูปพระผู้เป็นเจ้า และพราหมณ์ เข้ามาถวายพระเจ้าอู่ทอง หัวหน้าพราหมณ์ชุดนั้นชื่อผแดงธรรมนารายณ์ มีพราหมณ์อีกหลายคน

คําผญา (๒๐)

“ไม้ลําเดียวล้อมฮั้วบ่ไขว่ ไพร่บ่พร้อมแปงบ้านบ่เฮือง” ไม้ต้นเดียวล้อมรั้วไม่พอ ไพร่ฟ้าไม่พร้อมพัฒนาบ้านเมืองไม่เจริญรุ่งเรือง

บอระเพ็ด : ยาพาราพื้นบ้าน

แก้ไข้ทุกชนิด แก้กระหายน้ำ บำรุงร่างกาย บำรุงหัวใจ เจริญไฟธาตุ เป็นยาเจริญอาหารแก้ร้อนใน แก้อักเสบบอกช้ำภายใน เป็นยาขม เจริญอาหาร ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ช่วยลดความดันโลหิต

คำฉันท์ (๖)

อเล่าถึงวรรณคดีอีสาน เรื่อง “นางแตงอ่อน” สักหน่อยหนึ่ง แม้ว่าฉันทลักษณ์เรื่องนี้จะเป็นโคลงลาว เหตุที่จำเป็นต้องกล่าวถึง เพราะวรรณคดีอีสานเรื่องนี้มีฉาก “การคล้องช้างเผือก” ด้วยบ่วงบาศเชือกปะกำ วรรณคดีภาคกลางที่บรรยายฉากการคล้องช้างไว้ละเอียดที่สุดคือเรื่อง “สมุทรโฆษคำฉันท์” เหตุที่กวีประพันธ์ฉากนี้ไว้ละเอียด น่าจะเนื่องจากพระราชนิยมของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงโปรดการคล้องช้างมาก ข้าพเจ้าเคยเขียนเล่าไว้ในคอลัมน์นี้ถึงห้าหกตอน

ทำกุ้งจ่อมง่ายๆ สำหรับคนไกลบ้าน

นำกุ้งฝอยใส่ลงไป ตามด้วยน้ำปลา ให้ท่วมตัวกุ้งฝอย เก็บไว้สองคืน เมื่อครบ ๒ คืนแล้ว นำออกมาเทใส่กาละมัง คลุกรวมกันกับข้าวคั่ว แล้วจึงนำกลับใส่ขวดโหลเหมือนเดิม ฝาปิดให้มิดชิด ห้ามแมลงวันเข้าไป ต่อจากนี้ไปอีก ๓ ถึง ๗ วัน จนกุ้งฝอยเริ่มอืด มีกลิ่นหอม ของข้าวคั่ว ก้อใช้ได้แล้ว

คำฉันท์ วรรณลีลามรดกชาติ (46) สมุทโฆษคำฉันท์ (34)

นับเป็นเรื่องอัศจรรย์ ที่คำฉันท์เรื่องนี้ปรากฏต้นฉบับตัวเขียนเพียงฉบับเดียวเท่านั้นที่พบในปัจจุบันนี้ เป็นสมุดไทยดำ เขียนด้วยเส้นหรดาล ขนาดกว้าง ๑๑.๒ เซนติเมตร ยาว ๓๔.๕ เซนติเมตร เขียนอักษรสองด้าน รวม ๑๐๔ หน้า ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่ส่วนภาษาโบราณ หอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี

‘หมูป่าเอาะเผือก’ สูตรเนื้อตุ๋นแบบอีสานของคุณปู่สู่คำนาง

ส่วนคำว่า “เอาะเผือก” หมายถึง การเอาะที่ชูรสด้วยเผือก แต่ถ้าชูรสด้วยหอม ก็เรียก “เอาะหอม” เน้นและย้ำว่า ให้เรียกชื่อวัตถุดิบหลัก ตามด้วยกรรมวิธีการทำให้สุก และปิดท้ายด้วยวัตถุดิบรอง

สมุนไพรระงับปวด

“ปวด” คำ ๆ เดียวนี้ ทุกคนได้ยินเหมือนกัน แต่รับรู้ไม่เหมือนกัน คนส่วนใหญ่ไม่ชอบความเจ็บปวด แม้ว่าต้องพบเจอตั้งแต่เกิดจนตาย ความรู้สึกเจ็บปวดเป็นคุณสมบัติอันจำเป็น ที่ทำให้สัตว์ตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่อาจเป็นอันตรายต่อตนเอง ถ้าไม่มีความรู้สึกเจ็บปวดทารกที่เกิดมาคงอยู่รอดได้ไม่เกินหนึ่งวัน

คำฉันท์ (7) วรรณลีลามรดกชาติ เสียงตก

อำ ทำไมจึงเป็นลหุได้ เป็นครุก็ได้ แต่ อัม เป็นครุเสมอไป ความจริงก็คือ อำ เหมือนกัน จะว่าคำนิคหิตในภาษาสันสกฤตเป็นลหุก็ไม่ถูกต้อง เพราะความจริงเป็นครุในภาษาบาลีเหมือนกัน ถ้าถือรูปอักษรเป็นเกณฑ์ก็อาจจะว่าได้ว่าต่างกัน แต่เมื่อนิคหิตในภาษาบาลี-สันสกฤตก็เป็นครุด้วยกันแล้ว จะอ้างคารมรูปอักษรก็ไม่ได้

บทร้อยกรองของ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ 50-53

๕๒. ศาสตรศิลป์เป็นเงินเป็นทรัพย์ ไปสำหรับกับผู้ตกไกล ปัญญาไวเป็นเงินของฝาก ยามเมื่อยากเกิดเหตุจิบหาย ธรรมทั้งหลายของดีเฮาก่อ เป็นของห่อต่อไว้ยามตาย ศีลทั้งหลายเป็นเงินเป็นแก้ว บ่ฮู่แล้วทุกเมื่อทุกยาม

ดอกมะเดื่อเป็นของหายาก…จริงหรือ?

คนในเมืองรู้เพียงว่า มะเดื่อเป็นชื่อต้นไม้ บ้างรู้ดีขึ้นไปอีกว่า ลูกมะเดื่อมักมีแมลงหวี่อยู่ข้างใน บ้างก็ว่าผลมะเดื่อฝรั่งนั้นอร่อยนัก คนชนบทเสริมว่า ใบและผลอ่อนของมะเดื่อกินได้ อีกคนบอกในป่ามีมะเดื่อลูกโต ผลสุกสีแดงหวานอร่อย

ถวายบังคม มหาคีตศิลปิน

ขอพระองค์ทรงพระเจริญ ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า สมาชิกผู้อ่าน เครือข่ายเพื่อนมิตร และคณะผู้จัดทำนิตยสาร “ทางอีศาน” นายทองแถม นาถจำนง ผู้ประพันธ์

ลูกเดือยกับซุปไก่ฟ้าในตำนาน

ได้ยินคำ "ลูกเดือย" หลายคนนึกถึงลูกเดือยในน้ำเต้าหู้ บ้างก็เคยกินข้าวต้มใส่ลูกเดือย ส่วนใหญ่กินเพราะเชื่อว่าดีต่อสุขภาพ อย่างที่เป็นส่วนประกอบสำคัญในน้ำต้มธัญพืช ที่เฟื่องฟูเมื่อสักสิบกว่าปีก่อน ลูกเดือยมีความหมายเพียงแค่นี้หรือ คงไม่ใช่

ผญา – ยอดวรรณกรรมอีสาน

ผญา เป็นสำนวนคำพูดที่ไพเราะ คมคายลึกซึ้ง สละสลวย คนอีสานนั้นเป็นคนมีโวหาร เจ้าบทเจ้ากลอน พูดจาเป็นคำคม มีสัมผัสคล้องจอง ไพเราะ น่าฟัง ไม่ว่าจะเป็นโอวาท คำสั่งสอน คำตักเตือน ห้ามปราม หรือคำเกี้ยวพาราสีของหนุ่มสาวอีสานในอดีต สมัยโบราณนั้นคนอีสานมักพูดเป็นสำนวนภาษาแบบผญาเป็นส่วนมาก
1 2 3 6
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com