Category

ศิลปวัฒนธรรม – ประวัติศาสตร์

ตระกูลภาษา “ไท-กะได” กับ ไป่เยวี่ย (๓)

จากการศึกษาวิจัย “ตัวอักษร” บนกระดูกทำนาย (เจี๋ยกู่เหวิน 甲骨文 ) ทำให้ทราบว่า  ในยุคราชวงศ์ซาง 商 ซึ่งระบบตัวอักษรภาษาจีนเริ่มจะพัฒนาเจริญสุกงอมแล้ว ชื่อ “เยวี่ย” เป็นชื่อของกลุ่มชนที่มีความแตกต่างจากคนของราชวงศ์ซาง แต่นั่นก็มิใช่เรื่องที่จะนำมาอ้างอิงอธิบายได้ว่า กลุ่มคนเยวี่ยเพิ่งจะมีกำเนิดเกิดขึ้นในยุคนั้น (สามพันปีมาแล้ว) เพราะกลุ่มคนที่ถูกเรียกว่า “เยวี่ย” นั้น  ควรจะมีอยู่นานแล้ว  ก่อนที่จะเกิดตัวอักษรขึ้น  มิใช่ว่าผู้คนกับตัวอักษรคำว่า “เยวี่ย” จะกำเนิดขึ้นพร้อมกัน

(๑๒) “เชิญลงเยอ เชิญเจ้าลงเยอ… เชิญนางแต่งฮูปี่ฮูแคน ลูกสะแนนให้ดังถูกต้อง”

ในบทนี้ จะชี้ให้เห็นว่า บรรพสตรีไท-ลาว แต่ดั้งเดิมมีความสำคัญเพียงใดในศิลปะดนตรี อาทิเช่น การเป็น “ครูช่างแคน” และการเป็นผู้นำในนาฏพิธีต่าง ๆ เช่น “หมอลำผีฟ้า” ความพยายามนี้มิได้ประสงค์จะโน้มนำไปสู่แนวทัศนะแบบ Liberal Feminism

วัดริมทะเล วิหารบนหินผา และหัวใจในอากาศ

โลกมีเพียงใบเดียว มนุษย์กำเนิดจากรากเหง้าเผ่าพันธุ์เดียวกัน หากเมื่อแผ่นดินถูกขีดเส้นแบ่ง สำนึกถูกครอบงำด้วยอวิชชาและความโลภ นับจากนั้นมา... โลกก็ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป

เรื่องเล่าจากราวตากผ้าของแม่

“แม่ญิ่ง มะติ่งทับซ้าย ผู้ชาย มะติ่งทับ ขวาผู้ฮั่งเซอมะติ่งเงิน สายพี่สายน้อง เอาไว้ มัดไส้แฮ” ความหมาย : เสื้อหมอบของชาวผู้ไทจะ มีลักษณะที่โดดเด่นสังเกตง่าย คือ เสื้อผู้หญิง กระดุมเสื้อจะทับช้าย เสื้อผู้ชายกระดุมจะทับ ด้านขาว ผู้ที่มีฐานะจะสวมใส่เสื้อหมอบที่ติด กระดุมเงิน หรือสตางค์

คนพากย์หนัง

สมัยก่อนหนังเสียงในฟิล์มยังไม่มี ไม่ว่าหนังไทย ฝรั่ง อินเดีย ต้องใช้นักพากย์ ถ้าหนังฉายในโรงเก็บเงินก็จะมีนักพากย์ ชาย หญิงพากย์คู่ หรือชายเดี่ยวคนเดียวพากย์ทุกเสียง เสียงชายหญิง เสียงเด็ก คนแก่ เหมาหมด รับค่าตัวคนเดียว

อุรังคธาตุ-นิทานพเนจร : จุดเริ่มต้น (๒)

เช้าชีวิตของฉันเริ่มต้นขึ้นที่รูปเคารพพญาศรีสัตตนาคที่ริมโขง ฉันอธิษฐานขอให้การตามรอยพระพุทธบาทแห่งมหาบุรุษสำเร็จลุล่วงไร้อุปสรรค เมื่อเกิดขวัญกำลังใจฮึกเหิมแล้วเติมมื้อเช้าเป็นเชื้อเพลิงใส่ท้องอีกหน่อยก็พร้อมเดินทาง โดยมีหมุดหมายอยู่ที่วัดเวินพระบาท หมู่บ้านเวินพระบาท อำเภอท่าอุเทน ห่างจากตัวจังหวัดนครพนมไปราว ๒๘ กิโลเมตร

มัณฑเลย์… สะ พา น ข้า ม กา ล เ ว ลา ตอนจบ

ภายในพระตำหนักไม้สัก เรียกได้ว่ามีการแกะสลักทั้งหลัง ด้านในยังมองเห็นทองคำที่ปิดไว้อร่ามงามตา พระเจ้ามินดงเป็นกษัตริย์ผู้สร้างพระราชวังมัณฑเลย์ (พ.ศ.๒๔๐๐) พระตำหนักแห่งนี้จึงทรงคุณค่าอย่างมาก หลังจากพระองค์สวรรคตในพระตำหนักนี้ (พ.ศ.๒๔๒๑)

อุรังคธาตุ – นิทานพเนจร : แผนการจาริก (๑)

หากโลกนี้มีเวทมนตร์สิ่งนั้นเห็นจะเป็น “แม่น้ำโขง” ที่เบื้องหน้าของฉันนี่เอง ก็จะไม่ให้เรียกว่าเวทมนตร์ได้อย่างไร ลองนึกถึงความมหัศจรรย์ของมันดูสิ จากเกล็ดหิมะเล็ก ๆ บนดินแดนหลังคาโลก เมื่อโดนความร้อนจากแสงตะวันจึงค่อย ๆ เปลี่ยนสถานะเป็นหยดน้ำเล็ก ๆ ที่รวมกันจนเป็นลำธาร

(๗) แถน ในวัฒนธรรมสายไทหลวง (ไทใหญ่, ไทมาว, ไทอาหม ฯลฯ)

ข้าพเจ้าขอเรียก ชาวไตในภาคตะวันตกของยูนนาน ในรัฐฉาน ประเทศเมียนมาร์ (ปัจจุบัน) ในรัฐอัสสัม ประเทศอินเดียปัจจุบันว่าชาวไตสาย “ไตหลวง” หรือ “ไตสายตะวันตก” เนื่องจากมีตำนานกำเนิดและรากเหง้าวัฒนธรรมคล้ายคลึงกันมาก

(๗) ความหลากเลื่อนของภาษา กับความหมายของคำ “ใหญ่-ยาย-นาย”

เราได้เคยถกแถลงกันเรื่องความหลากเลื่อนของภาษาตามแนวคิดของแดริด้า-นักคิดแนวรื้อสร้างผู้เรืองนามชาวฝรั่งเศสมาบ้างแล้ว โดยเริ่มจากคำว่า “ด้ำ” ซึ่งเป็นคำไทดั้งเดิม ต่อมาได้กลายเสียงเป็น “ด้าม” จากชื่อโคตรวงศ์ “หมื่นด้ำพร้าคต” เพี้ยนไปเป็น “หมื่นด้ามพร้าคด”

ปาก๊ก 巴国 (จบ)

ต่อมาในยุคชุนชิว แคว้นฉู่เริ่มมีกำลังเข้มแข็งขึ้น ผลักดันให้เขตแดนของ ปาก๊ก ต้องเลื่อนถอยไปทางทิศะวันตกเรื่อย ๆ หนังสือ “ฮัวหยางกั๋วจื้อ” บรรพ “ปาก๊ก” 。《华阳国志•巴志》 บันทึกว่า “ปา กับ ฉู่ ทำสงครามกันหลายครั้ง”

ช่างงามงด คชลักษมี

บอนเตียสเรย หรือบันทายสรี เป็นปราสาทหินในกัมพูชา ที่ได้รับสมญานามว่าเป็น “รัตนชาติที่แท้ของศิลปะเขมร” (The True Gem of Khmer Architecture) เพราะเป็นปราสาทหลังเล็กๆ แต่จำหลักลายวิจิตรตระการตา จัดเป็นงานประติมากรรมแบบ “นูนสูง”

เผยโฉมผู้สร้างปรากฏการณ์ ณ บ้านปิน

สถานีรถไฟบ้านปิน สถานีรถไฟขนาดเล็กระดับอำเภอ แต่โดดเด่นด้วยรูปทรงสไตล์ “เฟรมเฮ้าส์” แบบบาวาเรียน (BavarianTimber Frame House) ซึ่งเป็นที่นิยมมากในแคว้นบาวาเรียของเยอรมัน ผสมผสานเข้ากับเรือนปั้นหยาแบบไทย ๆ

น้ำแห่งชีวิต

น้ำคือชีวิต...เป็นคำพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ที่ล่วงลับไปแล้ว รับสั่งเมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๒๙ ว่าหลักสำคัญต้องมีน้ำไว้บริโภค น้ำใช้น้ำเพื่อการเพาะปลูกเพราะว่าชีวิตที่อยู่นั่น ถ้ามีน้ำอยู่ได้ ถ้าไม่มีน้ำคนอยู่ไม่ได้

ทางอีศาน 74 : สาวด้ำปางบรรพ์ : ‘ด้ำนาย-ด้ำปู่’ (6)

การศึกษาเรื่องใด ๆ ต้องมี “เครื่องมือ” (Device) และ “วิธีวิทยา” (Approach) ในการวิเคราะห์วิจัยและตีความหมาย ถ้ามีเครื่อง มือดีและใช้วิธีวิทยาได้สอดคล้องกับสิ่งของ เรื่องราว และบริบทที่จะศึกษา ผลการศึกษาก็จะบรรลุเป้าหมาย
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com