คําผญา (๒)

คนเราเป็นอย่างนี้เมื่อเห็นคนอื่นมีอํานาจวาสนา มั่งมีศรีสุข มีโชคมีลาภ เรามักยินดีด้วย ความรู้สึกยินดีกับผู้อื่นนั้นเป็นสิ่งดี ถ้าเป็นความยินดีที่บริสุทธิ์ไม่เกิดความรู้สึกน้อยอกน้อยใจในความแตกต่างระหว่างตนกับผู้อื่น ไม่ได้แฝงด้วยความรู้สึกอิจฉาริษยา แล้วคิดแย่งแข่งขัน อยากเอาชนะ อยากทัดเทียม

๓๖๕ น้ำพริกกับสวนรอบบ้าน – ๘. น้ำพริก ผกค. สูตร ๓ น้ำพริกส้มห้วยกับต้มหวายใส่ปู

ครั้งหนึ่งพักกินข้าวเที่ยงข้างห้วย เพราะแลเห็นกอหวาย มีกิ่งอ่อน ๆ เยอะ จึงก่อไฟต้มแกงกันสักหน่อย คนนึงไปตัดหวายมาปอก คนนึงไปหลก (ถอน ดึง) ตะไตร้น้ำ กับ ส้มห้วย อีกหลายคนพากันพลิกก้อนหินในห้วยเพื่อหาปูภูเขา

ผญา – ยอดวรรณกรรมอีสาน

ผญา เป็นสำนวนคำพูดที่ไพเราะ คมคายลึกซึ้ง สละสลวย คนอีสานนั้นเป็นคนมีโวหาร เจ้าบทเจ้ากลอน พูดจาเป็นคำคม มีสัมผัสคล้องจอง ไพเราะ น่าฟัง ไม่ว่าจะเป็นโอวาท คำสั่งสอน คำตักเตือน ห้ามปราม หรือคำเกี้ยวพาราสีของหนุ่มสาวอีสานในอดีต สมัยโบราณนั้นคนอีสานมักพูดเป็นสำนวนภาษาแบบผญาเป็นส่วนมาก

คุยเรื่องพริกกับคนช่างสงสัย

เอกลักษณ์อย่างหนึ่งของอาหารไทยทุกภาคคือรสเผ็ดและเป็นรสเผ็ดที่มาจาก “พริก” แกงเผ็ด แกงเขียวหวาน หรืออาหารยอดนิยมอย่างผัดกระเพรา ล้วนไม่ขาดพริก น้ำพริกต่าง ๆ ก็ต้องมีพริก แม้แต่คนที่กินเผ็ดน้อยที่สุด ก็คงกินส้มตำโดยไม่ใส่พริกไม่ได้

สมุนไพรระงับปวด

“ปวด” คำ ๆ เดียวนี้ ทุกคนได้ยินเหมือนกัน แต่รับรู้ไม่เหมือนกัน คนส่วนใหญ่ไม่ชอบความเจ็บปวด แม้ว่าต้องพบเจอตั้งแต่เกิดจนตาย ความรู้สึกเจ็บปวดเป็นคุณสมบัติอันจำเป็น ที่ทำให้สัตว์ตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่อาจเป็นอันตรายต่อตนเอง ถ้าไม่มีความรู้สึกเจ็บปวดทารกที่เกิดมาคงอยู่รอดได้ไม่เกินหนึ่งวัน

จากใบชาถึงใบเมี่ยง

ถ้าไม่นับน้ำเปล่า ชาก็คงเป็นเครื่องดื่มยอดนิยมที่เก่าแก่ที่สุดของมนุษยชาติ เมื่อเอ่ยถึงชา เรามักเชื่อมโยงไปถึง จีน ญี่ปุ่น อังกฤษ อินเดีย และซีลอน แน่ละ ไม่มีไทย แต่เชื่อหรือไม่ ในความเผ็ดร้อน อ่อนละมุน ของวิถีชีวิตคนไทยนั้น มีรสชาติฝาดหวานของใบชาปะปนอยู่ด้วย อาจเป็นร้อยหรือพันปีมาแล้ว

๓๖๕ น้ำพริกกับสวนรอบบ้าน – ๕. น้ำพริกระกำ อีกสองสูตร

โขลกกระเทียมกับกะปิ (ควรจะปิ้งไฟเสียก่อน) ให้ละเอียดแล้วใส่พริกขี้หนูเด็ดก้านและมะเขือพวงบุบพอแตก แล้วใส่กุ้งแห้งป่น ระกำฝานบาง ๆ และมะอึกซอย

คำฉันท์ (๖)

อเล่าถึงวรรณคดีอีสาน เรื่อง “นางแตงอ่อน” สักหน่อยหนึ่ง แม้ว่าฉันทลักษณ์เรื่องนี้จะเป็นโคลงลาว เหตุที่จำเป็นต้องกล่าวถึง เพราะวรรณคดีอีสานเรื่องนี้มีฉาก “การคล้องช้างเผือก” ด้วยบ่วงบาศเชือกปะกำ วรรณคดีภาคกลางที่บรรยายฉากการคล้องช้างไว้ละเอียดที่สุดคือเรื่อง “สมุทรโฆษคำฉันท์” เหตุที่กวีประพันธ์ฉากนี้ไว้ละเอียด น่าจะเนื่องจากพระราชนิยมของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงโปรดการคล้องช้างมาก ข้าพเจ้าเคยเขียนเล่าไว้ในคอลัมน์นี้ถึงห้าหกตอน

คำฉันท์ (4) วรรณลีลามรดกชาติ

เดิมทีกวีไทยมิได้ดัดแปลงฉันท์ในคัมภีร์วุตโตทัยให้เป็นฉันท์ภาษาไทยครบทั้ง ๑๐๘ ชนิด ต่อมานายฉันท์ ขำวิไล เป็นผู้ดัดแปลงเพิ่มเติม เป็นฉันทวรรณพฤติ เพิ่มจากที่ มหาสมณะเจ้า พระปรมานุชิตชิโนรส ทำไว้ ๕๐ ชนิด

แกงอ่อมไก่ใส่ไข่อ่อน

ผักเหลือเยอะแยะเลยต้องหาเมนูกำจัดค่ะ ก่อนจะเน่าเสีย (เสียดาย อิอิอิ) ชอบแกงอ่อมใช้ผักเยอะดี ไม่มีไขมัน ไม่อ้วน ฮ่าๆๆๆ ใส่ผักไปเยอะแยะพอยุบเหลืออยู่นิดเดียวเอง

ลายแคนเสียงรถไฟ – พ่อสมบัติ สิมหล้า

ลายแคน ประดิษฐ์โดย พ่อสมบัติ สิมหล้า ที่เลียนมาจากเสียงรถไฟ แสดงในงานเสวนากึ่งสาธิตทางดนตรี “ลายดนตรีแคนในวัฒนธรรมหมอลำ” ในนิทรรศการ “แคนล่องคะนองลำ” ณ หอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน 28 มีนาคม พ.ศ. 2558

สงกรานต์ดอกคูณบานรับบ้านไท

ดอกคูณแย้มระย้าบานอีสานถิ่น เหลืองโพลนทั่วธาณินทร์เวิ้งฟ้าใส บ้างโรยร่วงรอรับคนจากไท จากเหนือใต้กลับบ้านสงกรานต์นี้ แถนเอยช่วยคุ้มครองพี่น้องเฮา ได้กลับเนาแนบบ้านอย่างสุขี เก็บสีแดงอย่าฉีดสาดลาดปฐพี ฉลองปีใหม่ไทยชุ่มฉ่ำเทอญ

“ปลาแดก” นั้นฉันใด

ปลา คือเป็นกับข้าวหลัก หรือเป็นอาหารหลักของคนอีสานมาแต่โบราณกาล ดังจะเห็นได้จาก ปู่ ย่า ตา ทวด สอนลูกสอนหลานว่า ให้กินอาหารหลักเป็นประจำ คือ “กินข้าวเป็นหลัก กินผักเป็นยา กินปลาเป็นแนวกิน” หมายถึง ให้กินข้าวเป็นหลัก ให้กินผักเป็นยา และให้กินปลาเป็นกับข้าว นี้ย่อมแสดงให้เห็นว่า ปลา มีความสำคัญต่อการบริโภคอาหารของคนอีสาน

คำฉันท์ วรรณลีลามรดกชาติ (46) สมุทโฆษคำฉันท์ (34)

นับเป็นเรื่องอัศจรรย์ ที่คำฉันท์เรื่องนี้ปรากฏต้นฉบับตัวเขียนเพียงฉบับเดียวเท่านั้นที่พบในปัจจุบันนี้ เป็นสมุดไทยดำ เขียนด้วยเส้นหรดาล ขนาดกว้าง ๑๑.๒ เซนติเมตร ยาว ๓๔.๕ เซนติเมตร เขียนอักษรสองด้าน รวม ๑๐๔ หน้า ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่ส่วนภาษาโบราณ หอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี

๓๖๕ น้ำพริกกับสวนรอบบ้าน – ๓. น้ำพริกมะอึกสองสูตร

น้ำพริกกุ้งแห้งควรใส่มะอึกมากกว่าน้ำพริกเบสิกหน่อย ปรุงด้วยน้ำปลาปลาสร้อย บีบมะนาวเอาตามชอบ บีบไปชิมไปอย่าให้เปรี้ยวเกิน (มะอึกสุกมีรสเปรี้ยวอยู่แล้ว) จำไม่ได้ว่าเห็นย่าใส่น้ำตาลปึกหรือเปล่า แต่สำหรับคนยุคนี้คงต้องใส่นิดหน่อยแหละครับ เพราะเราเสพติดน้ำตาลกันแล้ว

ดอกมะเดื่อเป็นของหายาก…จริงหรือ?

คนในเมืองรู้เพียงว่า มะเดื่อเป็นชื่อต้นไม้ บ้างรู้ดีขึ้นไปอีกว่า ลูกมะเดื่อมักมีแมลงหวี่อยู่ข้างใน บ้างก็ว่าผลมะเดื่อฝรั่งนั้นอร่อยนัก คนชนบทเสริมว่า ใบและผลอ่อนของมะเดื่อกินได้ อีกคนบอกในป่ามีมะเดื่อลูกโต ผลสุกสีแดงหวานอร่อย

๓๖๕ น้ำพริก – ๒. น้ำพริกเบสิก (น้ำพริกมาตรฐาน)

จิ้มกับผักดิบแนมด้วยปลาทูทอด หรือปลาดุกย่างก็ได้ แต่น้ำพริกครกนี้ปลาอะไรก็คงไม่ดีเท่าปลาทูทอด ม.ร.ว.คึกฤทธ์ ฯ ท่านแนะว่าถ้าอยากให้น้ำพริกถ้วยนี้น่าสนใจ หรือตื่นเต้น หรือโรแมนติกขึ้นไปอีก ก็ต้องเอาเมล็ดมะเขือใส่ คือหามะเขือขื่นหรือที่เรียกว่ามะเขือเหนียว

๓๖๕ น้ำพริก – ๑. น้ำพริกมะยม

ผักจิ้ม ใช้ได้ทั้งผักสด ผักลวก และถ้าอยากอวดแขกที่มากินด้วย ก็ลงทุน ไปตัดดอกเข็มหน้ารั้วเพื่อนบ้านที่เขารวย มาล้างสะอาด คลุกแป้งโกกิ ทอดน้ำมันร้อน ๆ พอเหลือง ยกให้สะเด็ดน้ำมัน นำมาจัดสำรับให้สวย ถ้าเพื่อนบ้านรั้วใหญ่เขาหวงดอกเข็ม
1 2 3 6
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com