Category

ศิลปวัฒนธรรม – ประวัติศาสตร์

ฮูปแต้มวัดจักรวาฬภูมินิมิต

สิมวัดจักรวาลภูมินิมิต มีลักษณะทางศิลปกรรมเป็นสิมแบบพื้นเมืองอีสาน ประเภทสิมทึบ หน้าบันหรือรังผึ้งมีลวดลายแกะสลักไม้ภายนอกมี “ฮูปแต้ม” เป็นภาพพุทธประวัติตอนมารผจญ ภาพขุมนรก และภาพพระพุทธองค์ขณะปลงพระเกศา มีพระอินทร์มารับนําไปประดิษฐานยังเจดีย์จุฬามณี

ฮูปแต้มวัดไชยศรี

สิมมีฮูปแต้มรอบฝาผนังทั้งด้านนอกด้านใน วาดโดยช่างชาวบ้านชื่อนาย “ทอง ทิพย์ชา” คนอําเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม โดยพระอธิการอ่อนสา กําหนดเรื่องให้เขียน

ศาสนาวานนี้ วันนี้ และวันหน้า

นักคิดนักปราชญ์ในตะวันตกวิพากษ์ศาสนามาหลายร้อยปี คาร์ล มาร์กซ์ บอกว่า “ศาสนาเป็นยาเสพติด” และมาร์กซิสต์ฉบับปรับปรุงใหม่บอกว่า “ศาสนาเป็นการครอบงําทางวัฒนธรรมที่แนบเนียนและรุนแรง” จะปลดปล่อยได้ยากที่สุด และเปลี่ยนแปลงเป็นอันดับสุดท้าย

[๑๓ – บทส่งท้าย] เส้นทางตามหาปาจิต และการมุ่งสู่มาตุภูมิ

เรื่องราวการเดินทางของปาจิตและอรพิม ได้ดำเนินมาถึงบทส่งท้าย เป็นเส้นทางที่อรพิมตามหาปาจิตหลังจากที่พลัดพรากโดยอุบายของเณร ที่พาปาจิตข้ามฝั่งน้ำไปฝั่งหนึ่งแล้วพานางอรพิมหนีไปตามลำน้ำ ซึ่งนางอรพิมต้องออกอุบายให้เณรขึ้นต้นมะเดื่อไปหาอาหารให้ และนำกองหนามมาสุมไม่ให้เณรลงมาได้

[๑๒] คนพิมาย : คนท้องถิ่นหรือผู้บุกรุก

ปัญหาความขัดแย้งระหว่างทางกรมศิลปากรและชาวเมืองพิมาย เรื่องการกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานเมืองพิมาย ได้มาถึงจุดที่คนพิมายรวมตัวกันถือป้ายประท้วงภาครัฐ เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง ทนงศักดิ์ หาญวงษ์ อดีตนักโบราณคดีกรมศิลปากร และปัจจุบันเป็นนักวิชาการอิสระ ได้ให้รายละเอียดไว้ดังนี้

เงินตราโบราณ ในอีสานบ้านเฮา (ตอนที่ ๑๐)

เงินตราอีกชนิดหนึ่งที่เป็นที่รู้จักของคนอีสานหรือคนลาวในอดีตคือเงินตราจากเพื่อนบ้านอย่างอาณาจักรไดเวียต (เวียดนาม) และเงินตราจากอาณาจักรจีน ซึ่งแผ่อิทธิพลทางการเมืองและทางเศรษฐกิจเข้ามาในช่วงที่อาณาจักรล้านช้างอ่อนแอระสํ่าระสายจากปัญหาการเมืองภายใน โดยเฉพาะในช่วงศตวรรษที่ ๑๙ หรือประมาณปี ค.ศ.๑๘๐๐ ต้น ๆ นอกจากสยามจะมีอิทธิ พลทางการเมืองเหนืออาณาจักรล้านช้างแล้ว

ยุคฟื้นฟูศิลปะวัฒนธรรมRenaissance (3/3)

มาร์ติน ลูเธอร์ เป็นพระในคณะเอากุสตีเนียน เป็นอาจารย์สอนเทวศาสตร์ในมหาวิทยาลัยในเยอรมัน เป็นผู้นำสำคัญที่ให้กำเนิดนิกายโปรเตสแตนท์ โดยเรียกร้องให้มีการปฏิรูปศาสนา ในปี 1517 นำข้อประท้วง 95 ข้อไปติดที่ประตูโบสถ์เมืองวิตเทนเบอร์ก ประณามความฉ้อฉล ศาสนพาณิชย์ ขายบุญเพื่อให้ได้เงินสร้างโบสถ์วิหาร โดยเฉพาะเซนต์ปิเตอร์ที่กรุงโรม การทำบุญด้วยเงินเพื่อเป็นการไถ่บาป ทำให้มีสิทธิ์ได้ไปสวรรค์

ยุคฟื้นฟูศิลปะวัฒนธรรมRenaissance (2/3)

ยุคกลาง ยุคมืดตอนต้น หลังจากโรมล่มสลาย ไม่เป็นเมืองหลวงของโลกอีก (caput mundi) ความรู้เก่าหายไป วิศวกรรม สถาปัตย์ คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ ไม่มีการก่อสร้างอะไรเหมือนยุคโรมันอีก หอสมุดคอนสแตนติโนเปิลได้รวบรวมวิชาความรู้ไว้มากมาย ทั้งของตะวันออก-ตะวันตก เป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาที่สำคัญ

ยุคเกิดใหม่เพื่อฟื้นฟูศิลปะวัฒนธรรม Renaissance (1/3)

ยุคฟื้นฟูศิลปะวัฒนธรรม (Renaissance) เป็น “ยุคเกิดใหม่” ของอารยธรรมที่เคยรุ่งเรืองสองพันปีก่อนในยุคกรีกและโรมัน ยุคที่ผู้คนกลับไปเรียนรู้ ฟื้นฟูความรู้ภูมิปัญญา ก่อให้เเกิดการเปลี่ยนแปลงมากมายในระยะเวลาไม่นานในแทบทุกด้าน

มากกว่ากาละแม คือทับหลังงามแท้ที่ศีขรภูมิ

ไม่น่าเชื่อขนมห่อเล็ก ๆ ฝีมือชาวบ้าน ในบรรจุภัณฑ์ (Packaging) แบบบ้าน ๆ นั่นคือ “กาละแม” จะทำให้ผมและใครต่อใครหลายคนติดอกติดใจจนต้องแวะเวียนไปอำเภอเล็ก ๆ แห่งหนึ่งของจังหวัดสุรินทร์ เพื่อหาซื้อ “กาละแม แม่สองบาล” มาชิมจนอิ่มเอิบในหัวใจ

ชาวนุง ในเวียดนาม The Nung people in Vietnam

ชาว “นุง” ตำราภาษาไทยมักจะเรียกว่า “ไทนุง” แต่อาจารย์ทองแถมบอกว่า เคยคุยแลกเปลี่ยนกับนักวิชาการชาวนุงหลายท่าน พบว่า พวกเขาเรียกตัวเองว่า “นุง” หรือ “คนนุง” มิได้เรียกคัวเองว่า “ไท”

เงินตราโบราณ ในอีสานบ้านเฮา (ตอนที่ ๙)

ฉบับนี้จะพามาทําความรู้จักกับเงินตราอีกชนิดหนึ่งที่มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า “เงินพดด้วง” ซึ่งมีลักษณะเป็นก้อนเงินกลม มีขา ๒ ข้าง เป็นเงินที่คนไทยสยามผลิตใช้กันมาต่อเนื่องยาวนานตั้งแต่สมัยสุโขทัยอยุธยา จนกระทั่งสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

ปริศนาพระแก้วมรกต จากปาฏลีบุตรถึงนครอินทปัตถ์

พระแก้วมรกต หรือ "พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร" เปรียบได้ดั่งมหากาพย์แห่งสุวรรณภูมิ ปรากฏรายละเอียดอยู่ใน "ตำนานรัตนพิมพวงศ์" ซึ่งรจนาโดยพระพรหมราชปัญญา พระภิกษุชาวล้านนา มีชีวิตอยู่ในช่วงระหว่างรัชกาลของพระเจ้าติโลกราชถึงพระเมืองแก้ว หรือช่วงพุทธศตวรรษที่ 20-21ถือเป็นยุคทองของวรรณกรรมล้านนาที่เกิดความนิยมในการรจนาด้วยบาลีปกรณ์

ฮูปแต้มวัดขอนแก่นเหนือ

จิตรกรรมฝาผนังในภาคอีสาน เรียกว่า “ฮูปแต้ม” มักวาด (แต้ม) ไว้ในโบสถ์ ชาวอีสานเรียกโบสถ์ว่า “สิม” คําว่าสิมมาจากคําว่า สีมาหรือเสมา สิมมีหลายแบบแต่ที่หลงเหลือให้เห็นในอีสานส่วนใหญ่ เป็นสิมที่ก่อด้วยอิฐดิบหรืออิฐเผาฉาบปูนมีสิมโถงหรือสิมโปร่ง (อายุประมาณ ๒๐๐ - ๒๕๐ ปี) และสิมก่อผนังหรือสิมทึบ (อายุ ประมาณ ๑๐๐ - ๒๐๐ ปี)

ข้าว เงือก นกส่งวิญญาณ อีกหนึ่งความเชื่อแก่นคติชนไท ก่อนรับอิทธิพลพุทธ-พราหมณ์

สำหรับความเชื่อในการ “เคารพบูชานก” พบหลักฐานโบราณคดีและนิทานตำนานของชน พื้นเมืองดึกดำบรรพ์ตั้งแต่ทางใต้แม่น้ำแยงซีเกียงลงมาจนถึงสุวรรณภูมิ (อาเซียน) โดยมี ความเชื่อว่า “นก” คือผู้นำเมล็ดข้าวมาให้มนุษย์ แหล่งโบราณคดีเหอหมู่ตู้ มณฑลเจ้อเจียง อารยธรรมโบราณกว่า ๗,๐๐๐ ปีก่อน
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com