Category

ศิลปวัฒนธรรม – ประวัติศาสตร์

โอลิมปิกกับมาราธอน

กีฬาโอลิมปิกเกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศกรีกเมื่อปี 776 ก่อน ค.ศ. (ประมาณ 2,800 ปีก่อน) จัดที่เมืองโอลิมเปีย ห่างจากกรุงเอเธนส์ไปต่างตะวันออก 188 ก.ม.

การค้นพบสมุนไพรวิเศษ

ข้าพเจ้าได้อ่านหนังสือเรื่อง วันและคืนในป่าเมืองลาว เป็นหนังสือประวัติการทำสงครามในป่าเมืองลาว อันเป็นสงครามที่ยืดเยื้อยาวนาน ซึ่งเขียนโดย ท่านด่าว วันเตี้ยน และท่านสมสะหวาด เล่งสะหวัด เล่าถึงความเป็นไปของการประสานงานของฝ่ายเสนาธิการและการข่าวในแนวหลัง ในช่วงที่ฝ่ายอเมริกันได้ใช้เครื่องบินมาโปรยสารพิษที่เรียกกันว่า ฝนเหลือง (Yellow Rain or Agent Orange) เพื่อทำลายใบไม้ในป่า ไม่ให้เป็นที่หลบซ่อนของทหารแนวลาวฮักซาดและทหารเวียดมินห์ ในยุคสงครามเวียดนามระหว่างปี ๒๕๐๕ – ๒๕๑๔

เงินตราโบราณ ในอีสานบ้านเฮา (ตอนที่ ๕)

ตราประทับคล้ายธรรมจักร เป็นอีกตราประทับหนึ่งที่มักพบในเงินตราของอาณาจักรในแถบอุษาคเนย์ ซึ่งมีการเชื่อมโยงกับความเชื่อทางศาสนา ทั้งศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู ที่มีอิทธิพลในภูมิภาคนี้มาก่อน รวมถึงศาสนาพุทธที่ได้เข้ามามีบทบาทในภายหลัง และยึดพื้นที่ของความเชื่อดั้งเดิมในภูมิภาคนี้ได้มากพอสมควร

โอ้…ดวงจำปา มหัศจรรย์ดอกไม้แห่งจิตวิญญาณ

ดอกไม้ไม่ได้มีความสำคัญเฉพาะต่อความสมดุลของระบบนิเวศโลก หากยังมีความสำคัญต่อชีวิตของมนุษย์ผู้อาศัยอยู่บนโลกไม่น้อยไปกว่ากัน นอกเหนือจากการใช้ดอกไม้เป็นอาหารยารักษาโรค และสิ่งบำรุงใจแล้ว มนุษย์ยังใช้ดอกไม้ในการแสดงความรัก ความศรัทธา ความเมตตากรุณา และความเคารพนับถือที่มีต่อผู้อื่น

เงินตราโบราณ ในอีสานบ้านเฮา (ตอนที่ ๔)

ฉบับนี้จะมาเล่าถึงตราประทับอกตราหนึ่งที่พบในเงินฮ้อย และพบเป็นจำนวนค่อนข้างมากรองลงมาจากตรางูหรือพญานาคที่กล่าวไปแล้ว เงินฮ้อยตราช้างมีหลากหลายรูปแบบ ซึ่งจะเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์ของอาณาจักรแห่งนี้ได้พอสมควร

ภาพพระเตมีย์ บนใบเสมาทวารวดีอีสาน

ใบเสมาในวัฒนธรรมทวารวดีภาคอีสานหลายใบ มีภาพเล่าเรื่องนิบาตชาดกสลักตกแต่งอยู่ด้านใดด้านหนึ่ง ในจำนวนนิบาตชาดกมากมายหลายร้อยเรื่องพบว่าทศชาดก หรือชาดก ๑๐ ชาติสุดท้าย ได้รับความนิยมมาก เตมีย์ชาดกซึ่งเป็นชาดกเรื่องแรกในกลุ่มทศชาติ เป็นหนึ่งในเรื่องที่นำมาสลักไว้บนใบเสมาค่อนข้างมาก เช่น ใบเสมาจากเมืองฟ้าแดดสงยาง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ, ใบเสมาจากบ้านคอนสวรรค์ อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ และใบเสมาที่วัดโนนศิลาอาสน์ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี

(๒) สู่เวิ้งจักรวาฬอันไพศาล

ฉบับที่แล้วฉันได้เล่าถึงมหานทีสีทันดรไป มานึก ๆ ดูก็รู้สึกจะข้ามขั้นตอนอยู่บ้าง ฉบับนี้จึงขอนอกกรอบของคอลัมน์ภาพกาก แล้วเล่าถึงภาพรวมของจักรวาฬ เพื่อเป็นพื้นฐานในการเสพศิลปะแห่งภาพกากกันในคราวต่อ ๆ ไป ว่าแล้วเราก็มาน้อมจิตกันเสียก่อนที่จะเข้าเรื่องกันเถิด

นิทานเรื่องนางตันไต หรือปัญจะตันตระ (ตอนที่ ๑)

ผู้เขียนเคยเดินทางไปที่เวียงจันทน์เมื่อหลายปีมาแล้ว ได้มีโอกาสไปเยี่ยมหอสมุดแห่งชาติลาว และได้ซื้อหนังสือเกี่ยวกับภาษาและวรรณคดีลาวมาหลายเล่ม เล่มที่สำคัญคือ นิทานนางตันไต ผู้เขียนได้อ่านนิทานนางตันไตด้วยความเพลิดเพลินและสนุกสนานที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับสัตว์ต่าง ๆ ที่พูดได้ และผู้เขียนเคยถอดความของบทแรก ๆ ออกเป็นอักษรไทย และนำไปตีพิมพ์ในงานฌาปนกิจศพของญาติสองสามครั้งเป็นที่ถูกอกถูกใจของผู้ได้รับหนังสือนั้นไป

ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมอีสาน แหล่งภูมิปัญญาชาวอีสาน

“โรงเรียนฝึกหัดครู” ในอดีตนั้น ต่อมาก็คือ “วิทยาลัยครู” เปลี่ยนชื่อมาเป็น “สถาบันราชภัฏ” และปัจจุบันคือ “มหาวิทยาลัยราชภัฏ” สถาบันนามนี้ยุคสมัยหนึ่งเคยได้ชื่อว่าเป็น “มหาวิทยาลัยคนยาก” ฉายานี้ได้มาเพราะคนในชนบทสมัยก่อน ๆ แม้จะเรียนเก่งปานใด โอกาสที่จะได้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยในเมืองนั้นยากเต็มที่

อาจารย์สุจิตต์ วงษ์เทศ ขยายความเรื่องประวัติศาสตร์ “ผู้ไท” “ขุนบรม” วีรบุรุษในตำนานของผู้ไท

ผู้ไทจากเมืองแถน (เวียดนาม) เป็นบรรพชนต้นทางคนไทยในเมืองไทย (คือรัฐอยุธยา) พบเบาะแสเค้ามูลอยู่ในลาวเมื่อพวกผู้ไทโยกย้ายจากเมืองแถนไปตั้งหลักแหล่งอยู่แขวงซำเหนือ (ใกล้แขวงหลวงพระบาง ในลาว) ถูกพวกลาวนับเป็นไทย คือไม่นับเป็นลาว

ประวัติและที่มา ทำไมจึงเรียกงานแต่งงานว่า “กินดอง”

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว เมื่อครั้งอดีตที่ผ่านมานั้นยังมีหนองน้ำใหญ่แห่งหนึ่ง อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร ของกินนานาชนิด จึงเต็มไปด้วยสิ่งมีชีวิตหลากหลายเผ่าพันธุ์ได้เข้าอาศัยอยู่ ตามแหล่งน้ำดังกล่าวนี้ได้มีสัตว์น้อยใหญ่ทั้งหลาย ฝูงปลาเล็กใหญ่ต่างแหวกว่ายไปมาตามหนองน้ำใส ฝู

ลักษณะลาว

คำถามที่เกิดขึ้นกับคนโดยทั่วไป เช่นคำถามที่ว่า อะไรคือ ลาว อย่างไรจึงเป็นลาว หรือ อะไรคือ ไทย อย่างไรจึงเป็นไทย คำถามเหล่านี้ดูน่าสนใจ แต่ยากที่จะให้คำตอบที่ได้ความชัดเจน เนื่องจากคำตอบมักจะผูกพันกับความเป็นรัฐ เป็นชาติ (nationstate) ซึ่งเป็นอิทธิพลของฝรั่งชาติตะวันตกที่นำไปเผยแพร่ทั่วโลก

“คารคี” ฤๅษีหญิงแห่งโลกตะวันออก

โลกปรัชญาตะวันออกของภารตประเทศหรืออินเดียโบราณได้เคยมีปรากฏการณ์ทางปรัชญาของบรรดานักปรัชญาหญิงในยุคพระเวท (1500-500 BCE) ที่ถือกันว่าเป็นยุคแรกของอารยธรรมอารยันในอินเดีย ชาวภารตะโบราณเรียกนักปรัชญาในยุคนี้ว่า “ฤๅษี” คำว่า ฤๅษี มาจากคำว่า Rishis ในภาษาสันสกฤต ซึ่งหมายถึงฤๅษีชาย ส่วนฤๅษีหญิงนั้นภาษาสันสกฤตใช้คำว่า Rishikas คัมภีร์ฤคเวท (Rig Vedic)

จิตรกรรมฝาผนัง วัดทุ่งศรีเมือง ภาพฉายวิถีชีวิตคนอุบลฯในอดีต

วัดเป็นสถานที่รวบรวมศิลปะแต่ละสมัยไว้ได้อย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ภาพจิตรกรรมฝาผนัง” พระอารามเก่า ๆ มักมีภาพจิตรกรรมฝาผนังยุคที่วัดนั้น ๆ สร้างขึ้นมาปรากฏอยู่ และแน่นอนว่า ช่างเขียนภาพในโบสถ์ วิหารต่าง ๆ ย่อมเป็นช่างเขียนชั้นดี อย่างน้อยก็ดีที่สุดเท่าที่ทางวัดนั้น ๆ จะเฟ้นหามาได้

แผ่นดินใหญ่ใช้เงินมหาศาลในการจัดระเบียบและถ่ายทำ “The General History of China”

แผ่นดินใหญ่ใช้เงินมหาศาลในการจัดระเบียบและถ่ายทำ "The General History of China" จำนวน 100 ตอน ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ตอนนี้ใช้เวลาเพียง 75 ชั่วโมงเพื่อดูการขึ้นลงของประวัติศาสตร์ 4,700 ปีของชาติจีน
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com