Category

ศิลปวัฒนธรรม – ประวัติศาสตร์

“แคนโหล” แคนซิ่งอีสาน

“ไผว่าเมืองอีสานฮ้าง อยากจูงแขนท่านไปเบิ่ง เสียงพิณยังกล่อมแดน เสียงแคนยังกล่อมบ้าน สิเพฮ้างบ่อนจั่งได๋” ผญาบทนี้เป็นผญาที่บอกกล่าวถึงความไม่ร้างไร้ของแผ่นดินอีสาน โดยบรรยายถึงเรื่องราวของเสียงดนตรีที่มีอยู่คู่กับผืนแผ่นดินถิ่นอีสาน เสียงแคนเสียงพิณได้กลายเป็นสัญลักษณ์แห่งความมั่งคั่งทางวัฒนธรรมของแผ่นดินอีสานที่คนทั้งหลายไม่อาจปฏิเสธได้

ฮูปแต้มวัดโพธิ์ชัย

“รูปกาก” วัดนี้มีคุณค่ามาก เพราะเป็นภาพวิถีชีวิตชาวบ้าน แสดงถึงประเพณี พิธีกรรม และการแต่งกายของคนพื้นบ้าน เช่น ภาพกองทัพสยาม เป็นภาพทหารเดินเรียงแถว ถือหอก แต่งกายด้วยชุดมีสีสันสดใส ตัดผมสั้นแบบทหารราชสํานักสยาม ข้างแถวทหารเป็นภาพหญิงชาวบ้านแต่งกายแบบลาว คือเกล้ามวย ห่มผ้าเบี่ยงสีสันสดใส นุ่งผ้าซิ่นกรอมเท้าลายทางต่อหัวต่อตีน

อักษรในอีสาน…ต้นธารประวัติศาสตร์

เพ่งพินิจสรรพสาระอันว่าด้วย “ประวัติศาสตร์” คงมีประเด็นเห็นพ้องและเห็นต่างกันอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ทั้งนี้ด้วยเหตุที่การอธิบายเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ต้องอาศัยทั้งข้อมูลโบราณคดี ตำนาน พงศาวดาร เรื่องเล่า มาเป็นข้อมูลรองรับข้อสันนิษฐานของผู้รู้ในสำนักคิดต่าง ๆ

ชาดกเรื่องพระโสณะและพระนันทะเลี้ยงดูบิดามารดา

พระโพธิสัตว์ (อดีตชาติของพระพุทธเจ้า) เสวยพระชาติเป็น พระโสณะ บุตรคนโตของพราหมณ์สามีภรรยาคู่หนึ่ง มีน้องชายนามว่า พระนันทะ เมื่อเจริญวัยขึ้นบิดาและมารดาประสงค์ให้พระโสณะแต่งงานมีครอบครัว ทําหน้าที่ดูแลทรัพย์สมบัติสืบไป แต่พระองค์ปฏิเสธ

เงินตราโบราณ ในอีสานบ้านเฮา (ตอนที่ ๘)

เงินตราอีกชนิดหนึ่งซึ่งเป็นที่รู้จักกันอย่างดีในหมู่คนเฒ่าคนแก่ของพี่น้องชาวอีสานและพี่น้องชาวลาว อาจมีชื่อเรียกต่าง ๆ นานาว่า เงินฮางบ้าง เงินเฮือบ้าง เงินลาดบ้าง ตามแต่ละท้องถิ่นจะเรียกขานกัน แต่เงินตราชนิดนี้มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า “เงินลาด” เป็นคำที่บรรพบุรุษคนลาวเรียกขานกันมาตั้งแต่ในอดีต

แหล่งตัดหินบ้านกรวด เปิดปมปริศนาเทวาลัย

ไปเยือนปราสาทหินคราใด คำถามเหล่านี้วนเวียนอยู่ในห้วงคำนึงของผมเสมอ ช่างแขมร์โบราณตัด ยก ขนย้ายก่อนศิลาทรายหนักเป็นตัน ๆ ได้อย่างไร ? ใช้อะไรขัดให้เรียบ กลึงให้กลม แกะให้งาม ที่สำคัญในการออกแบบก่อสร้างเทวาลัยขนาดใหญ่เช่นนี้ สถาปนิกผู้รังสรรค์ใช้วัสดุใดเป็น “พิมพ์เขียว” ในการร่างแบบ ?

ฮูปแต้มวัดมหาธาตุ อำเภอเชียงคาน

วัดมหาธาตุ อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ตั้งอยู่ใกล้ริมฝั่งแม่น้ำโขง ที่บ้านเชียงคาน (บ้านท่านาจันทร์เดิม) ประวัติการก่อสร้างไม่ชัดเจนทราบเพียงว่า พญาศรีอรรคฮาด จากหลวงพระบาง ได้มาตั้งบ้านเรือนอยู่ริมแม่น้ำโขง แล้วสร้างวัดมหาธาตุขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๑๙๗ ต่อมามีการสร้างวัดใหญ่ (วัดศรีคูณเมือง) ขึ้นทางเหนือของวัดมหาธาตุ

๑๔ เมืองโบราณ ในจังหวัดขอนแก่น หลักฐานจากภาพถ่ายทางอากาศ

องค์ความรู้ทางวิชาการ เรื่อง ๑๔ เมืองโบราณ ในจังหวัดขอนแก่น หลักฐานจากภาพถ่ายทางอากาศ โดย นางสาวทิพย์วรรณ วงศ์อัสสไพบูลย์ นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ ๘ ขอนแก่น

คันไถโบราณ ตํานานและความเชื่อของชาวนา

เสียงหายใจของควายดังฮึด ๆ ฟึดฟัด ๆ พ้นผ่านออกจมูกทั้งสองข้าง มันออกแรงเพื่อพยายามทำตามเจ้าของของมันที่บังคับให้มันเดินตรงไปข้างหน้า สายเชือกตะพายที่ร้อยผ่านรูจมูกทั้งสองข้างถูกเหนี่ยวรั้งให้ตึง คอถูกสวมด้วยแอกที่มีเชือกผูกโยงไปยังคันไถ มันออกแรงเดินตรงไปข้างหน้า ส่วนเจ้าของควายออกแรงกดคันไถให้ต่ำลง ผาลไถถูกปักจมลงสู่ใต้ผิวดิน ทันทีที่ควายก้าวเดินต่อไปก็จะเผยให้เห็นดินถูกขุดพลิกขึ้นในทันทีเช่นกัน นี่คือ “การไถนาแบบโบราณ”

เงินตราโบราณ ในอีสานบ้านเฮา (ตอนที่ ๗)

ในช่วงยุคหนึ่งสมัยหนึ่งของอาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง ในฐานะเมืองประเทศราชของสยามตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๓๒๒ ได้ผลิตเงินตราอีกรูปแบบหนึ่งที่ไม่เคยผลิตมาก่อน รูปทรงเรียวยาวเช่นเดียวกับเงินฮ้อยหรือเงินคาน แต่ไม่มีตุ่มตามตัวของเงิน ตอกตราสัญลักษณ์สำคัญ ๓-๔ ตรา เงินตราชนิดนี้ยังไม่มีบันทึกหรือข้อมูลแน่ชัดว่าในอดีตเรียกชื่อกันว่าอย่างไร แต่บรรดานักสะสมเงินตราโบราณมักเรียกชื่อเงินตรานี้ว่า “เงินลาด” ซึ่งเป็นชื่อที่ไม่ถูกต้องนัก

“ปลาแดก” นั้นฉันใด

ปลา คือเป็นกับข้าวหลัก หรือเป็นอาหารหลักของคนอีสานมาแต่โบราณกาล ดังจะเห็นได้จาก ปู่ ย่า ตา ทวด สอนลูกสอนหลานว่า ให้กินอาหารหลักเป็นประจำ คือ “กินข้าวเป็นหลัก กินผักเป็นยา กินปลาเป็นแนวกิน” หมายถึง ให้กินข้าวเป็นหลัก ให้กินผักเป็นยา และให้กินปลาเป็นกับข้าว นี้ย่อมแสดงให้เห็นว่า ปลา มีความสำคัญต่อการบริโภคอาหารของคนอีสาน

“เมรุนกหัสดีลิงค์” อริยะประเพณีในแผ่นดินอีสาน

คติการปลงศพด้วยนกของชาวอุษาคเนย์ มีหลักฐานทางโบราณคดียืนยันได้ว่ามีมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ดังปรากฏภาพพิธีกรรมส่งผีขวัญที่มีองค์ประกอบภาพที่สำคัญ คือภาพนกอยู่บนหน้ามโหระทึก ด้วยเหตุที่คนโบราณเชื่อว่า นกเป็นสัตว์ที่สามารถเดินทางไปบนฟ้า อันเป็นดินแดนที่มนุษย์ในยุคบรรพกาลเชื่อว่าเป็นที่ตั้งของเมืองแถน ซึ่งเป็นโลกศักดิ์สิทธิ์ในคติทวิภูมิ ก่อนที่คติไตรภูมิจากชมพูทวีปจะแพร่เข้ามาในดินแดนอุษาคเนย์เมื่อประมาณ พ.ศ.๑๐๐๐

ข้าว มะพร้าว ตาล : เมรัยพฤกษ์ของไทย

เราไม่รู้แน่ชัดว่าเหล้าเกิดขึ้นเมื่อไร นิทานพื้นบ้านของไทยหลายท้องถิ่นกล่าวไว้คล้าย ๆ กันว่า มีเหล้าเกิดขึ้นจากการหมักของผลไม้ที่ตกค้างอยู่ในโพรงไม้ ตอนแรกก็เป็นลิงหรือสัตว์ป่ามากิน ต่อมามนุษย์ก็กินตาม กินแล้วก็เมาสนุกสนาน จนเลยเถิดเป็นโทษเป็นทุกข์ เล่าขานกันเป็นนิทานชื่อ “มูลละเหล้า” ชี้ให้เห็นเหตุอันควรละเลิกสุรา

เงินตราโบราณ ในอีสานบ้านเฮา (ตอนที่ ๖)

เงินฮ้อยที่ตอกตราอุณาโลมของสยามนี้ที่พบส่วนมากมีขนาดเดียวคือ ขนาดประมาณ ๖๐ กรัม หรือ ๕ บาทของล้านช้าง ตอกตราอุณาโลมไว้ด้านหนึ่ง อีกด้านหนึ่งตอกตราอักษร “ร” ของล้านช้างซึ่งอาจหมายถึงตัวย่อของ “รัตนโกสินทร์” ของสยาม

ตำนานโอลิมปิก

# เต็มสิบยิมนาสติก Perfect Ten นาเดีย โคมาเนชี (Nadia Comaneci) เด็กสาวชาวรูเมเนีย อายุ 14 ปี ทำคะแนนเต็ม 10 ในยิมนาสติกบาร์ต่างระดับที่โอลิมปิกมอนทรีลปี 1976 นับเป็นคนแรกในประวัติศาสตร์กีฬาประเภทนี้ เธอได้เหรียญทอง 3 เหรียญจากรวมอุปกรณ์ บาร์ต่างระดับ และคานทรงตัว และได้เต็มสิบอีก 2 เหรียญทองในโอลิมปิกที่มอสโก 1980
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com