Category

ศิลปวัฒนธรรม – ประวัติศาสตร์

ประวัติศาสตร์จากสาเกเชื่อม

ที่อยู่ตรงหน้าผมคือ สาเกเชื่อมถ้วยหนึ่ง ดู ๆ ไปแล้วก็ไม่เห็นมีอะไรพิเศษ ของหวานโบราณถ้วยนี้ พบเห็นได้ไม่บ่อยนัก ในยุคที่ “คัพเค้ก” ครองเมือง สัปดาห์ก่อน ผมขับรถไปพักผ่อนที่ชายทะเลแถวเพชรบุรี แวะซื้อขนมริมทางติดมือมานิดหน่อย หนึ่งในนั้นคือสาเกเชื่อม ราคา ๓ ถุงร้อย ใส่ตู้เย็นไว้หลายวันแล้ว เพิ่งนึกได้ เลยแกะถุงเทใส่ถ้วย นั่งพิจารณาดูอยู่ ณ บัดนี้

ผีตาแฮก

ตาแฮก หรือผีตาแฮกเป็นผีดีประจําท้องไร่ท้องนาผู้เป็นเจ้าของนา ตามความเชื่อของคนไท-ลาว ดึกดําบรรพ์ นาทุกผืนจะมีผีตาแฮกอยู่เมื่อชาวบ้านเข้าหักร้างถางพงเพื่อทำที่นา จะทำพิธีเชิญผีตาแฮกมาดูแลนาข้าว ดูแลข้าวกล้า ไม่ให้เสียหาย ไม่ให้วัวควายมากิน ไม่ให้เกิดแมลงต่าง ๆ

ช่างน่าอัศจรรย์ !!

ช่างน่าอัศจรรย์ ! ภายใต้โครงครอบของสังคมศักดินาล้าหลัง ผืนแผ่นดินแห่งนี้ได้ให้กำเนิดบุตรหลานที่ดีเลิศ นักมนุษยภาพ จิตเอิบอาบประชาธิปไตย หัวใจสุภาพบุรุษนักประพันธ์ ผู้ถือปากกาเป็นอาวุธ “...ยิงกระสุนแห่งถ้อยคำและเหตุผล จนกว่าเราจะล้มลงและหมดกำลัง เรายิงเพื่อความถูกต้องชอบธรรม” นาม ~ กุหลาบ สายประดิษฐ์

บุญข้าวสาก

สำหรับคนที่ไม่รู้จักประเพณี “บุญข้าวสาก” คำพังเพยข้างต้นอาจแสลงหู เพราะมีคำว่า เปรต คำว่า ผี แต่ในสมัยก่อน บุญข้าวสากหรือวันสารทไทย เป็นประเพณีสำคัญของชาวไทยทั้งประเทศ

งันเฮือนดี : พิธีสนุกสนานในงานศพ

งานศพในปัจจุบันเป็นงานเศร้าโศกกับการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก ซึ่งโลกทัศน์ดังกล่าวน่าจะเริ่มมีมาพร้อมกับการเปิดรับวัฒนธรรมตะวันตกในช่วงรัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นต้นมา แต่ร่องรอยหลักฐานที่ปรากฏเกี่ยวกับงานศพในอุษาคเนย์ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์กลับให้โลกทัศน์ที่แตกต่างกันออกไปโดยสิ้นเชิง

เขากินอะไรเป็นข้าวกัน

ในแต่ละมื้ออาหารปกติของคนทั่วโลก ต้องมีของกินที่เป็นหลักอยู่อย่างหนึ่ง สำหรับคนไทยแล้วของกินที่ว่านั้นคือ ข้าว แล้วคนชาติอื่นกินอะไร บางคนบอกฝรั่งกินขนมปัง แต่เอ คนแอฟริกากินอะไรเล่า ในยุคสมัยที่ร้านอาหารไม่ถูกจำกัดด้วยความเชื่อ

งามงานวัฒนธรรม – รัศมี 20 กิโลเมตรรอบพนมรุ้ง

บุรีรัมย์เพียงจังหวัดเดียวมีโบราณสถานรวม 279 แห่ง แบ่งเป็นบุรีรัมย์ตอนเหนือ 128 แห่ง ตอนใต้ 151 แห่ง ทั้งที่มีชื่อและไม่ปรากฏชื่อ ทั้งที่ขึ้นทะเบียนกับกรมศิลปากรแล้วและยังไม่ได้ขึ้น นี่ไม่นับรวมที่ซุกซ่อนอยู่ตามที่ราบลุ่มและบนแนวเทือกพนมดงเร็ก

อโยธยาในสายตาคนลุ่มแม่นํ้าโขง

ภาพสะท้อนถึงเรื่องราวบ้านเมืองในสายตาของคนลุ่มนํ้าโขงที่มีต่อเมืองอโยธยา ซึ่งเป็นเมืองสําคัญในลุ่มแม่นํ้าเจ้าพระยา ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๒ ปรากฏผ่านตํานานอุรังคธาตุที่ถือว่าเป็นวรรณกรรมตำนานที่สำคัญของลุ่มแม่นํ้าโขง

ยาพิษแสลงใจ

มนุษย์รู้จักยาพิษ และใช้มันเพื่อปลิดชีพตนเองหรือผู้อื่นมานานนับพันปี ในฐานะที่เป็นเครื่องมือในการฆาตกรรม ยาพิษมีข้อได้เปรียบคือ ไม่เปิดเผย ไม่ร้องเตือน และอาจไม่ทิ้งร่องรอย การประกอบยาพิษและการวางยาพิษ เป็นศิลปะที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญ และรอคอยเวลาที่เหมาะสม แต่กว่าเหยื่อจะรู้ตัว ฆาตกรก็เผ่นหนีไปไหนต่อไหนแล้ว หรือไม่ก็แสร้งร้องไห้คร่ำครวญอยู่ข้างศพผู้ตายนั่นเอง

พระสุเมรุกลางใจเรา

การสร้างปราสาท หรือเทวสถานตามคติฮินดูคือการสร้างทิพยวิมานถวายแด่เทพเจ้ายามที่ท่านเสด็จลงมายังโลกมนุษย์แต่โดยปกติทวยเทพจะประทับอยู่ที่เขาพระสุเมรุซึ่งถือเป็นศูนย์กลางของโลกและจักรวาล ดังนั้นการสร้างปราสาทจึงเท่ากับเป็นการจําลองเขาพระสุเมรุ

พระไม้…ลมหายใจคนไทยอีสาน (จบ)

ระหว่างที่กำลังพูดคุยกันเรื่องที่มาของพญาไม้ ฉันสังเกตเห็นว่าบริเวณฐานพระลึกเข้ามาถึงพระบาทข้างซ้ายนั้นมีรอยต่ออยู่ พ่อคำอ้ายอธิบายว่าเวลาเตรียมไม้ต้องตัดลงมาเป็นระนาบตรงก่อน เพื่อไม่ให้เสียทรัพยากรไปเปล่า ๆ ส่วนเกินที่สกัดออกไปจึงนำมาต่อเป็นพระบาทและฐาน พร้อมกันนั้นปราชญ์สูงวัยยังได้หยิบวัตถุเรียวยาวสีดำออกมาจากย่ามที่พกติดตัว

พระไม้…ลมหายใจคนไทยอีสาน (๑)

บางสิ่งเราเห็นอยู่ทุกวันจนชินตา...จนลืมให้ความสำคัญ วันนี้ที่ฉันไปเที่ยวตลาดนัดจตุจักรจึงได้รู้ สิ่งที่ถูกสร้างจากสองมือด้วยความศรัทธาในพระพุทธศาสนากลายเป็นสินค้าเฝ้าหิ้งชิ้นใหม่ของแผง...พระไม้

ต้นงิ้ว กามารมณ์ และการลงทัณฑ์

คุณคิดว่า ต้นงิ้วมีลักษณะอย่างไรหรือ อ๋อ ก็มีลำต้นตรง โตขนาดโอบได้ มีหนามแหลมยื่นยาวออกมาจากต้นโดยรอบ แล้วใบงิ้วเป็นอย่างไร ไม่รู้ซินะ นึกไม่ออก เขาว่ามีอยู่ในนรกไง รู้ได้ไงหรือ อ๋อ เคยได้ยินเพลงร้องว่า “...ต้นงิ้ว กระทะทองแดง เอาหอกแหลมแทง ทุกวันทุกวัน” แล้วเคยเห็นของจริงไหม “บ้าละซี ยังไม่ตายนี่ ถึงตายก็ไม่อยากเห็น”
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com