มัณฑเลย์… สะ พา น ข้า ม กา ล เ ว ลา ตอนจบ
ภายในพระตำหนักไม้สัก เรียกได้ว่ามีการแกะสลักทั้งหลัง ด้านในยังมองเห็นทองคำที่ปิดไว้อร่ามงามตา พระเจ้ามินดงเป็นกษัตริย์ผู้สร้างพระราชวังมัณฑเลย์ (พ.ศ.๒๔๐๐) พระตำหนักแห่งนี้จึงทรงคุณค่าอย่างมาก หลังจากพระองค์สวรรคตในพระตำหนักนี้ (พ.ศ.๒๔๒๑)
อุรังคธาตุ – นิทานพเนจร : แผนการจาริก (๑)
หากโลกนี้มีเวทมนตร์สิ่งนั้นเห็นจะเป็น “แม่น้ำโขง” ที่เบื้องหน้าของฉันนี่เอง ก็จะไม่ให้เรียกว่าเวทมนตร์ได้อย่างไร ลองนึกถึงความมหัศจรรย์ของมันดูสิ จากเกล็ดหิมะเล็ก ๆ บนดินแดนหลังคาโลก เมื่อโดนความร้อนจากแสงตะวันจึงค่อย ๆ เปลี่ยนสถานะเป็นหยดน้ำเล็ก ๆ ที่รวมกันจนเป็นลำธาร
(๗) แถน ในวัฒนธรรมสายไทหลวง (ไทใหญ่, ไทมาว, ไทอาหม ฯลฯ)
ข้าพเจ้าขอเรียก ชาวไตในภาคตะวันตกของยูนนาน ในรัฐฉาน ประเทศเมียนมาร์ (ปัจจุบัน) ในรัฐอัสสัม ประเทศอินเดียปัจจุบันว่าชาวไตสาย “ไตหลวง” หรือ “ไตสายตะวันตก” เนื่องจากมีตำนานกำเนิดและรากเหง้าวัฒนธรรมคล้ายคลึงกันมาก
(๗) ความหลากเลื่อนของภาษา กับความหมายของคำ “ใหญ่-ยาย-นาย”
เราได้เคยถกแถลงกันเรื่องความหลากเลื่อนของภาษาตามแนวคิดของแดริด้า-นักคิดแนวรื้อสร้างผู้เรืองนามชาวฝรั่งเศสมาบ้างแล้ว โดยเริ่มจากคำว่า “ด้ำ” ซึ่งเป็นคำไทดั้งเดิม ต่อมาได้กลายเสียงเป็น “ด้าม” จากชื่อโคตรวงศ์ “หมื่นด้ำพร้าคต” เพี้ยนไปเป็น “หมื่นด้ามพร้าคด”
ปาก๊ก 巴国 (จบ)
ต่อมาในยุคชุนชิว แคว้นฉู่เริ่มมีกำลังเข้มแข็งขึ้น ผลักดันให้เขตแดนของ ปาก๊ก ต้องเลื่อนถอยไปทางทิศะวันตกเรื่อย ๆ หนังสือ “ฮัวหยางกั๋วจื้อ” บรรพ “ปาก๊ก” 。《华阳国志•巴志》 บันทึกว่า “ปา กับ ฉู่ ทำสงครามกันหลายครั้ง”
ช่างงามงด คชลักษมี
บอนเตียสเรย หรือบันทายสรี เป็นปราสาทหินในกัมพูชา ที่ได้รับสมญานามว่าเป็น “รัตนชาติที่แท้ของศิลปะเขมร” (The True Gem of Khmer Architecture) เพราะเป็นปราสาทหลังเล็กๆ แต่จำหลักลายวิจิตรตระการตา จัดเป็นงานประติมากรรมแบบ “นูนสูง”
เผยโฉมผู้สร้างปรากฏการณ์ ณ บ้านปิน
สถานีรถไฟบ้านปิน สถานีรถไฟขนาดเล็กระดับอำเภอ แต่โดดเด่นด้วยรูปทรงสไตล์ “เฟรมเฮ้าส์” แบบบาวาเรียน (BavarianTimber Frame House) ซึ่งเป็นที่นิยมมากในแคว้นบาวาเรียของเยอรมัน ผสมผสานเข้ากับเรือนปั้นหยาแบบไทย ๆ
น้ำแห่งชีวิต
น้ำคือชีวิต...เป็นคำพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ที่ล่วงลับไปแล้ว รับสั่งเมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๒๙
ว่าหลักสำคัญต้องมีน้ำไว้บริโภค น้ำใช้น้ำเพื่อการเพาะปลูกเพราะว่าชีวิตที่อยู่นั่น ถ้ามีน้ำอยู่ได้ ถ้าไม่มีน้ำคนอยู่ไม่ได้
ทางอีศาน 74 : สาวด้ำปางบรรพ์ : ‘ด้ำนาย-ด้ำปู่’ (6)
การศึกษาเรื่องใด ๆ ต้องมี “เครื่องมือ” (Device) และ “วิธีวิทยา” (Approach) ในการวิเคราะห์วิจัยและตีความหมาย ถ้ามีเครื่อง
มือดีและใช้วิธีวิทยาได้สอดคล้องกับสิ่งของ เรื่องราว และบริบทที่จะศึกษา ผลการศึกษาก็จะบรรลุเป้าหมาย
ผ้าย้อมคราม กับสงครามกรุงทรอย
หนังฮอลลีวูดนี้ใช้เสื้อผ้าย้อมครามทั้งเรื่องจะเห็นนักแสดงหลัก ๆ ทุกคนแต่งตัวด้วยผ้าย้อมคราม เป็นผ้าจากจังหวัดสกลนคร ด้วยเหตุผลว่านอกจากสวยงามแบบคลาสสิกแล้ว ยังเป็นสีสันที่สะท้อนความ “โบราณและอมตะ”
เทพนม
ในพิพิธภัณฑ์บ้านไทย จิม ทอมป์สัน มีศิลปวัตถุไม้แกะสลักชิ้นไม่ใหญ่สะดุดตาเป็นรูป “เทพนม” สำหรับชาวไทยแล้วประติมากรรม,ปูนปั้น, ลายประดับตกแต่งอาคาร รูป “เทพพนม” นั้น ชาวไทยพบเห็นอยู่ทั่วไปแทบจะทุกหนทุกแห่ง จากศาลพระภูมิในบ้าน, วัด, ราชวัง ฯลฯ
ทางอีศาน : “สิลิพอน-เพ็ดดาวอน” นักล่าฝัน…ไร้พรมแดน
คนไทยรู้จัก “สิลิพอน” มาตั้งแต่ปี ๒๕๕๘ เมื่อเธอ Cover เพลง “แก้วรอพี่” ของพุ่มพวง ดวงจันทร์ เผยแพร่ทางช่องยูทูป Una studio จนมียอดวิวทะลุหลักล้าน แถมสื่อโซเชียลไทยยังหยิบมาเล่นข่าวกันครึกโครม นอกจากนี้ สิลิพอนยัง Cover เพลงดัง ๆ ของลาวอีกหลายสิบเพลง
รอยพระพุทธบาทในตำนานอุรังคธาตุ
ปาทลักษณะนิทาน หรือเรื่องราวของการประทับรอยพระพุทธบาทในดินแดนลุ่มแม่น้ำโขง เป็นสาระสำคัญหนึ่งที่ปรากฏอยู่ในตำนานอุรังคธาตุ ดังนั้น แนวคิดเรื่องรอยพระพุทธบาท จึงเป็นแนวคิดสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการแต่งตำนานอุรังคธาตุ
มัณฑเลย์… ส ะ พ า น ข้ า ม ก า ล เ ว ล า ตอนที่ ๑
แทบทุกครั้งที่หน้าประวัติศาสตร์ไทยมักจบลงที่การเสียกรุงศรีอยุธยาให้กับพม่า อย่างไม่สามารถจะเปลี่ยนแปลงได้ แต่ครั้งนี้คือการได้มาไกลกว่าเดิมตามเส้นทางสองขาของเชลยศึก...ดิฉันได้มามัณฑเลย์สองครั้ง สิ่งที่น่าประทับใจของสถานที่นี้คือ วัฒนธรรมที่เป็นรากเหง้าในวิถีชีวิต...
แคนเก่าสุด 2,500 ปีมาแล้ว หมอแคนยุคแรกเป็นหญิง
แคนเก่าสุดอายุราว ๒๕๐๐ มีหลักฐานจากลายเส้นบนเครื่องมือสำริด พบฝังรวมกับศพที่เวียดนามและที่อื่น เช่น มณฑลยูนนานทางภาคใต้ของจีน และหมอแคนยุคแรกเป็นหญิง เพราะผู้หญิงเป็นเจ้าของงานศิลปะและวัฒนธรรมทั้งมวล รวมถึงหมอลำกับหมอฟ้อนก็เป็นผู้หญิง