Category

ศิลปวัฒนธรรม – ประวัติศาสตร์

กระดาษ ในยุค ๔.๐

ที่อยู่ตรงหน้าผมคือ กระดาษกองหนึ่งส่วนใหญ่เป็นจดหมายเวียนข่าวสารให้รับรู้ ยังมีเอกสารงานวิจัยทางขวามืออีกกองหนึ่ง ต้องอ่านให้เสร็จในสองสามวัน และนั่นถัดไป เป็นข้อสอบที่ออกเสร็จแล้ว รอการตรวจทานความถูกต้องอีกครั้งก่อนส่งไปทำสำเนา กองกระดาษเหล่านี้เพิ่มพูนขึ้นทุกวัน จดหมายเวียนอิเล็กทรอนิกส์นะหรือ มีไว้เพื่ออวดชาวโลกว่า เราก็ทันสมัยแล้วเราก็ใช้จริง ๆ ด้วย แต่ใช้ควบคู่ไปกับจดหมายเวียนที่เป็นกระดาษ

เงินตราโบราณ ในอีสานบ้านเฮา (ตอนที่ ๑๓)

หลังจากสยามมีการผลิตเหรียญเงินอย่างตะวันตกใช้อย่างเป็นทางการในปี ๒๔๐๓ แต่เงินปลีกที่มีราคาต่ำกว่าหนึ่งไพนั้น ก็ยังใช้เบี้ยหรือหอยเบี้ย ซึ่งเป็นหอยขนาดเล็กที่ได้จากมหาสมุทรอินเดีย ใช้เป็นเงินปลีกมาตั้งแต่สมัยอาณาจักรอยุธยา โดยอัตราแลกเปลี่ยนของหอยเบี้ยมีตั้งแต่ ๖๐๐-๘๐๐ เบี้ย เป็นหนึ่งเฟื้องแล้วแต่ความขาดแคลนหอยเบี้ย ซึ่งหอยเบี้ยนี้พ่อค้าชาวมลายู นำใส่เรือสำเภามาขาย

เงินตราโบราณ ในอีสานบ้านเฮา (ตอนที่ ๑๒)

ช่วงสมัยรัชกาลที่ ๓ จนถึงสมัยรัชกาลที่ ๔ การค้าของสยามรุ่งเรืองมาก จนส่งผลให้เงินตราที่มีใช้จ่ายในตลาดคือ เงินพดด้วง หรือเงินหมากค้อ ของคนลาวอีสาน มีจํานวนไม่เพียงพอใช้ซื้อขายแลกเปลี่ยน เพราะผลิตด้วยมือ กําลังผลิตค่อนข้างตํ่าผลิตได้วันละไม่กี่ร้อยบาท ทั้งที่ความต้องการใช้มีมากกว่านั้น ชาวต่างประเทศซึ่งเป็นชาวตะวันตกมักนำเงินเหรียญของตนมาซื้อขายสินค้า แต่ต้องนำเงินเหรียญนั้น ๆ หลอมเป็นเงินพดด้วง แล้วตีตราของทางราชการเสียก่อน จึงเป็นที่ยอมรับของพ่อค้าหรือราษฎรชาวสยาม

ฮูปแต้มวัดโพธาราม นาดูน

ฮูปแต้มวัดโพธารามเขียนด้วยสีฝุ่นผสมกาวใช้สีของผนังสิมเป็นสีพื้น สีที่ใช้มีสีน้ำเงิน ฟ้า เขียว เหลือง แดง ดํา และขาว วรรณะสีโดยรวมแล้วเป็นสีเย็น ภาพที่ต้องการเน้นให้สะดุดตา จะเขียนสีตรงกันข้ามติดกัน เช่น สีครามตัดเส้นด้วยสีนํ้าตาล ส้ม และดํา เป็นต้น

เรื่องข้าวที่เขา (ทองแถม) ไม่ได้เล่าให้ฟัง

คนไทยกินข้าวเป็นอาหารหลักมานาน นานจนอดนึกไม่ได้ว่า ตอนยังไม่เป็นคนไทยก็คงกินข้าวเหมือนกัน กินจนติดเป็นนิสัย กินอาหารอื่นมากเท่าใดก็ไม่รู้สึกอิ่มเหมือนกินข้าว นอกจากรู้จักกินข้าวแล้ว ดูเหมือนว่าเรารู้เรื่องราวของข้าวที่กินทุกมื้อทุกวันน้อยเหลือเกิน รู้บ้างก็กระท่อนกระแท่น ไม่ปะติดปะต่อ รู้จริงบ้างนิดหน่อย แต่ส่วนใหญ่รู้ไม่จริง

“พลัง” ของแนวคิดสิทธิชุมชน

ผู้เขียนได้นำเสนอใน “ทางอีศาน” ฉบับก่อนว่า ฐานคิดเรื่องคุณค่าของแนวคิด “สิทธิชุมชน” มีความใกล้เคียงกับแนวคิด “วัฒนธรรมชุมชน” ที่มองชุมชนเป็นสถาบันสำคัญ มีกระบวนการภายในที่จะจัดการตนเองเพื่อความอยู่รอด แต่ในทางกระบวนการวิเคราะห์ชุมชนนั้น แนวคิดสิทธิชุมชนค่อนข้างให้ความสำคัญกับการศึกษาความขัดแย้งและการสร้างกติกาข้อตกลง การปรับดุลอำนาจภายในซึ่งเกิดขึ้นตลอดเวลาของชุมชน

แนวคิด “สิทธิชุมชน” เสริมขยายพลังเคลื่อนไหวของชุมชน

คำว่า “สิทธิชุมชน” นั้น เป็นคำที่ถูกผลิตขึ้นมาใหม่เพื่ออธิบายความหมายและคุณค่าอย่างหนึ่งที่เกิดและดำรงอยู่มาช้านานแล้ว เป็นวาทกรรมที่สร้างพลังให้กับการเคลื่อนไหวของ “ชุมชน” ที่ชาวชุมชนแสดงตัวตนชัดแจ้งในการปกป้องตัวเองจากภัยคุกคามจากภายนอกในยุคการพัฒนาในรอบกว่า ๒ ทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นยุคแย่งชิงทรัพยากรอย่างแท้จริง โครงการพัฒนาขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้นเป็นเหตุของการรุกรานคุกคามสิทธิ์ในการใช้ทรัพยากรของชาวชุมชนท้องถิ่นอย่างหนัก

จากแนวคิดวัฒนธรรมชุมชน สู่สังคมการปกครองตนเอง

เพื่อนที่เป็นนักวิชาการชาวญี่ปุ่นท่านหนึ่งกล่าวกับข้าพเจ้าว่า ที่เมืองไทยนี้แปลกกว่าที่อื่นในยุคเดียวกัน การพูดถึงและให้คุณค่ากับความเป็น “ชุมชน” มีสูงมาก ทั้งในวงวิชาการ องค์กรชาวบ้าน แวดวงราชการ ในส่วนขององค์กรพัฒนาภาคเอกชนนั้นถือว่าแนวคิดวัฒนธรรมชุมชนเป็นกระแสคิดหลักของขบวนที่ยึดถือกันมาตลอดสองสามทศวรรษ แม้แต่พระมหากษัตริย์ไทยก็ทรงดำริเรื่อง “การสร้างชุมชนเข้มแข็ง” ผ่านแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ทฤษฎีใหม่ หรือรูปธรรมในโครงการพระราชดำริทั้งหลาย

อีสานปกครองตนเอง

ระบอบประชาธิปไตยแบบที่ประเทศไทยเราใช้ปกครองกันอยู่ในปัจจุบัน เป็นระบอบที่เราลอกเลียนมาจากการปกครองในประเทศตะวันตก ด้วยความจำเป็นของกระแสโลกที่เราจะต้องเดินตามแบบเขาประการหนึ่ง และความหลงในความศิวิไลซ์ของชาวฝรั่งอีกประการหนึ่ง

ภูมินามแม่นํ้าโขง : หลันชางเจียง กิวลุ่งเกียง เก้าลวง กาหลง

เรื่องราวของแม่นํ้าโขงเป็นมหากาพย์หลากสีสันที่เล่าขานไม่มีวันจบสิ้น ไม่ว่าจะหยิบยกประเด็นใดที่เกี่ยวกับแม่น้ำโขงขึ้นเสวนาล้วนแต่สร้างสีสันอันน่าติดตามทั้งสิ้น สายน้ำที่มีความยาวถึง ๔,๙๐๙ กิโลเมตรที่พาดผ่านจากจีน พม่า ลาว ไทย กัมพูชา ถึงเวียดนาม ย่อมทําให้แต่ละท้องถิ่นมีนามเรียกขานแม่น้ำโขงที่แตกต่างกันออกไป และต่างมีเรื่องเล่าที่พยายามอธิบายความหมายของแม่นํ้าโขงตามทัศนะของตน ดังที่จะได้ร่วมกัน “เปิดผ้าม่านกั้ง” เรื่องราวของ “ภูมินามแม่นํ้าโขง”

ปู่น้ำเงิน เบ็ญพาด : ปราชญ์ผู้นำอนุรักษ์จุดประทีปตีนกาของเมืองกาญจน์

กว่าจะเป็นปราชญ์ต้องเป็นปู่ ศึกษาเป็นผู้รู้ดำรงที่องอาจ กอปรด้วยรักเมตตาเป็นสามารถ เป็นที่นับถือของเบญพาดทุกรูปนาม

รฦก ๔๘ ปี “๑๔ ตุลา ๒๕๑๖”

เมื่อเดือนตุลาคม ๒๕๑๖ ประชาชนทุกสาขาอาชีพ นักเรียน นักศึกษา คนหนุ่มสาว นับหมื่นนับแสนออกจากบ้านไปร่วมส่วนการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ หลายคนไม่ได้กลับบ้านอีกเลย บางคนกลับไปด้วยร่างกายพิการ บางคนกลับไปด้วยความรู้สึกใหม่ เหตุการณ์ ๑๔ - ๑๕ ตุลาคม มีผู้เสียชีวิต ๗๑ คน บาดเจ็บ ๘๕๗ คน

บทนำ ฉบับ “ฟ้าใหม่”

นักคิดนักเขียนที่มีความคิดก้าวหน้าคนหนึ่ง ให้ความหมายของศิลปไว้ว่า ศิลป คือผลิตกรรมที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อสะท้อนถ่ายความจัดเจนในทางสร้างสรรค์ที่ได้รับจากการต่อสู้ของชีวิต ทั้งในทางธรรมชาติและทางสังคม ทั้งนี้โดยสะท้อนถ่ายออกมาในแง่ความงาม แนบแน่นกับความเป็นจริง มีความตรึงตราและง่ายในระดับที่ประชาชนส่วนข้างมากสามารถชื่นชม และเข้าใจได้ อย่างน้อยก็ในช่วงระยะเวลาที่มันถือกำเนิดขึ้นมา
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com