Category

ศิลปวัฒนธรรม – ประวัติศาสตร์

TAO Dialogue 2 “เต้า” สนทนา จากประสบการณ์อ่านวรรณคดี บนฐานคิด ‘มานุษยวิทยาสัญนิยม’

บนฐานคิดที่ว่า ‘ภาษา’ มีชีวพันธุกรรมต้นกำเนิด มีการแตกตัว เคลื่อนไหว เดินทาง กระจายตัว แม้ถูกกลืนกลาย ก็ยังสาวหารากร่วมได้ โดยการใช้ ‘กุญแจคำ’ ไขรหัสสิ่งที่เป็น ‘วัฒนธรรมร่วมเชื้อสาย’

“มานุษยวิทยาพันธุศาสตร์” สืบรากเหง้าผู้คนในอุษาคเนย์ผ่านดีเอ็นเอมนุษย์โบราณ

ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์นับตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ ๑๖ เป็นต้นมา ไม่เพียงแต่ช่วยให้มนุษย์รู้จักธรรมชาติจนสามารถเอาชนะธรรมชาติ นำไปสู่การพัฒนาความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของมนุษย์ ทว่าในอีกทางหนึ่งได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการสืบค้น เสาะแสวงหา ตลอดจนรวบรวมความรู้เกี่ยวกับมนุษย์ และสังคมที่มนุษย์อาศัยอยู่

สะบ้า เป็นได้มากกว่าของเล่น

ในวงสนทนาคํ่าคืนหนึ่ง เพื่อนที่มาด้วยกันจากในเมืองยื่นของสิ่งหนึ่งให้ดูแล้วถามว่า นี่ลูกอะไรเก็บมาจากพื้นดินเมื่อตอนเดินเที่ยวป่าตอนบ่าย ผมมองลูกกลมแบน สีนํ้าตาลอมแดง ขนาดกําได้ในฝ่ามือ แล้วตอบ อ๋อ เขาเรียกลูกสะบ้า ในป่าดิบชื้นนี่พบได้มาก แล้วรู้ไหมเมล็ดสะบ้านี่ เอาไปทําอะไรได้บ้าง

เสมา “พิมพาพิลาป”

ใบเสมาศิลปะทวารวดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๖ แผ่นหนึ่งสลักภาพพุทธประวัติตอนพระพุทธองค์โปรดพระนางพิมพาที่ตําหนักของพระนาง หรือที่นิยมเรียกว่าพิมพาพิลาป นับได้ว่าเป็นหนึ่งในงานศิลปกรรมชิ้นเอกในอดีตกาลของแผ่นดินอีสาน โดยใบเสมาแผ่นนี้ค้นพบจากเมืองฟ้าแดดสงยาง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ปัจจุบันจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขอนแก่น

อนาคตลูกไทย?

มูลนิธิทางอีศาน - โดยคณะดนตรีอีศานคลาสสิกคณะ"หมาเก้าหาง" ร่วมจัดค่ายต้นกล้ารักษ์ศิลปวัฒนธรรม"กลองยาว"ให้เยาวชน เป็นเวลา 5 วัน ด้วยความปรารถนาดีของข้ารัฐการผู้น้อยและผู้ปกครอง ที่ต้องการให้ลูกหลานมีโอกาสฝึกฝนทักษะด้านต่าง ๆ ในกรณีนี้ชุมชนจะได้มีคณะกลองยาวไว้ใช้ในงานประเพณี และการละเล่นรื่นเริง

รำลึก ๑๐๘ ปี อาจารย์สุภา ศิริมานนท์

# รำลึก ๑๐๘ ปี อาจารย์สุภา ศิริมานนท์ (๑๕ กรกฎาคม ๒๔๕๗ - ๑๓ มีนาคม ๒๕๒๙) "ถ้าเราเอาระดับความรอบรู้ลุ่มลึกของนักวิจารณ์เท่าที่มีอยู่ในเมืองไทยมาประกอบการพิจารณา ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า คุณสุภาอาจจะเป็นนักวิจารณ์ที่มีหนังสือครอบครองมากที่สุดคนหนึ่ง และได้ 'อ่าน' หนังสือที่ท่านครอบครองนั้นอย่างจริงจัง

เมืองเพีย : แหล่งผลิตเกลือและโบราณคดี

การขุดค้นแหล่งโบราณคดีและเมืองโบราณจำนวนมากในภาคอีสาน เป็นหลักฐานยืนยันว่าภาคอีสานเป็นแหล่งอารยธรรมเก่าแก่แห่งหนึ่งของโลก และสิ่งที่เราไม่เคยคิดว่าจะมีก็มีในพื้นที่แห่งกันดารแบบบทกวีอีศาน ของ “นายผี” บอกไว้ว่า “ในฟ้าบ่มีน้ำ ในดินซ้ำมีแต่ทราย น้ำตาที่ตกกราย ก็รีบซาบบ่รอซึม”

อายหลาวก๊ก 哀牢国

คําว่า “อายหลาว” 哀牢 มาจากภาษาไท/ไตว่า “อ้ายหลวง” ในช่วง ๕ ศตวรรษก่อนคริสตกาล บรรพชนไต/ไท แถบตอนกลางของแม่น้ำโขงและแม่น้ำสาละวิน มีศูนย์กลางอยู่ที่ “เมืองช้าง” (“勐掌” “เมิงจ่าง”, ภาษาฮั่น เรียกว่า “เสิงเซี่ยงกั๋ว” “乘象国” หรือ “เมืองขี่ช้าง”) เป็นศูนย์กลางของสหพันธ์นครรัฐ (อยู่ชาติพันธุ์วรรณาแถบอำเภอเป่าซานปัจจุบัน ซึ่งในยุคสามก๊ก เรียกว่า “หย่งชาง-เวงเซี้ยง) ประมุขเมืองช้าง เรียกว่า “เจ้าหลวง” ( ภาษาจีน “จิ่วหลง 九隆”) ประมุขแต่ละเมืองเรียก “อ้ายหลวง” (“哀隆” แปลว่า “พี่ใหญ่” ภาษาจีนฮั่นถอดคำเป็น “อายหลาว哀牢”)

วิจิตรตา… วัดศรีเทพประดิษฐาราม

กัลยาณมิตรคนหนึ่งรู้ใจผมว่านิยมชมชอบงานศิลปะสถาปัตยกรรม ที่ประดับปูชนียสถานโดยไม่มีข้อจํากัดทางศาสนา จะเป็นเทวาลัยฮินดูโบสถ์คริสต์ มัสยิด ฤๅพุทธสถาน หากอนุญาตให้เข้าชมได้แม้แต่เพียงภายนอก ก็ถือเป็นความยินดีปรีดานัก

ไตซาย ไตหยา ไตแข่ : ความเชื่อทางศาสนา

พิธีกรรมของชาวไตเอวลายที่สำคัญ ๆ มีดังนี้ ไหว้ “หลง” (ดง) เจิงหลง 祭龙 “หลง” คํานี้เสียงตรงกับ “หลง 龙” ที่แปลว่า มังกรจีน เรื่อง “มังกร” (ภาษาจีนว่า “หลง” “龙”) เป็นปัญหาใหญ่มากสําหรับผู้เริ่มต้นศึกษาวัฒนธรรมโบราณของกลุ่มชนไป่เยวี่ย

อัปสราศีขรภูมิ : บ้าน ๆ สะท้านทรวง

“ห้องศิลป์อีสาน” ฉบับที่แล้ว เล่าให้ฟังว่าที่ซุ้มประตูปราสาทศีขรภูมิ อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ มี “เทพทวารบาล” หรือเทพผู้รักษาประตูปราสาท หรือประตูวิมาน กำลังยืนกุมไม้กระบองอยู่ข้างนวลน้องอัปสรา หรือ “เทพอัปสร” ชนิดที่ผมนึกไม่ออกจริงๆ ว่าถ้าผมต้องมายืนเฝ้าปราสาทอยู่ใกล้สาวงามปานนี้

เมืองเสือพยัคฆภูมิพิสัย “ชื่อน่ากลัวแต่ตัวน่ารัก”

อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม เป็นเมืองเก่าอีกเมืองหนึ่งที่น่าเรียนรู้และน่าศึกษาค้นคว้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งมีร่องรอยความเป็นเมืองโบราณหลายแห่ง แถมยังมีการขุดพบวัตถุโบราณเป็นจำนวนมากและมีพื้นที่บางส่วนของอำเภออยู่ในเขตทุ่งกุลาร้องไห้แหล่งปลูกข้าวหอมมะลิชื่อดังอีกด้วย

โลกเปลี่ยน เรียนรู้ อยู่รอด

โลกวันนี้เปลี่ยนไปเร็วมาก เร็วจนคนจำนวนมากตามไม่ทัน เมื่อตามไม่ทันก็เกิดปัญหาตามมาและนี่น่าจะเป็นไปตามทฤษฎีวิวัฒนาการของชาร์ลส์ ดาร์วิน ที่ว่า “คนที่จะอยู่รอดได้ไม่ใช่คนที่แข็งแรงที่สุด หรือฉลาดที่สุด แต่เป็นคนที่ปรับตัวได้ดีที่สุดต่างหาก”

การเขียนหนังสือ

เขียนบทความนี้ด้วยความระลึกถึง สนั่น ชูสกุล กัลยาณมิตรผู้จากไป คนใต้แต่หัวใจอีสาน รักสายลมแสงแดด ไม่ดูถูกคนจน ทํางานช่วยเหลือคนทุกข์ คนยากตั้งแต่เรียนจบมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ก่อนเป็น “อีสาน” และเจ้าแก้วมงคลสร้างเมืองทุ่ง (ตอนจบ)

จากความตอนแรกจะเห็นได้ว่า เมื่อสิ้นกษัตริย์ที่เข้มแข็งแล้วอาณาจักรล้านช้างต้องพบกับการจลาจล การแย่งชิงราชสมบัติ และด้วยเหตุนี้อาณาจักรล้านช้างจึงแตกแยกออกเป็น ๓ อาณาจักร ถูกสยามที่มีความเข้มแข็งทั้งทางด้านทหาร เศรษฐกิจ อาวุธยุทโธปกรณ์เข้าครอบครองและผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งในเวลาต่อมา
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com